วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551

เรียนวันจันทร์ที่ 16พฤศจิกายน 2551

mw ให้เป็น db
1.) 55 log mw/1
= 5/0.69 log
= 0.69x10
= 6.9 = 7 db Ans

***************************************************************************************

2.) 1010 log mw/1
=10/1 log
= 0.778 x 10
= 7.78
= 8 db Ans

***************************************************************************************

3.) 1515 log
=mw/1
=15/1.77 log
= 1.77 x 10
= 117
= 118 db Ans

***************************************************************************************

4.)20 log mw/1
= 20/1.30 log
= 1.30 x 10
= 13 db Ans

*************************************************************************************

5.) 25 log mw/1
= 25/1.39 log
= 1.39 x 10 = 13.9
= 14 db Ans

*************************************************************************************


db ให้เป็น mw
1.) 23
= 23 db/10
= 23/10
= 2.3= 102.3
= 199.5 Ans

*************************************************************************************

2.) 18
= 18 db/10
= 18/10
= 1.8
= 357.05 Ans

*************************************************************************************

3.) 7
= 7 db/10
= 7/10
= 0.7
= 0.03 Ans

*************************************************************************************


4.) 100
= 100 db/10
= 100/10
= 10
= 1000000000 Ans

***************************************************************************************

5.) 13
= 13 db/10
= 13/10
= 1.3
= 14 Ans

*************************************************************************************
เลขที่ตัวเอง คือ 36

1.) 3.14 x 4 x 36
=452.16 log
=2.65 20
=53 Ans

*************************************************************************************
2.) 3.14 x 4 x 37
= 464.72 log
= 2.66 x 20
= 53.2 Ans

*************************************************************************************
3.)3.14 x 4 x 38
= 477.28 log
= 2.68 x 20
= 53.6 Ans

*************************************************************************************
4.)3.14 x 4 x 39
= 489.84 log
= 9796.8 x 20
= 4 Ans

*************************************************************************************
5.)3.14 x 4 x 40
= 502.4 log
= 2.71 x 20
= 54.2 Ans

*************************************************************************************

วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

งานครั้งที่ 5

1.จงเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง IEEE802.11b และ IEEE802.a
ตอบ ความแตกต่างของ IEEE 802.11bใช้กลไกเข้าถึงตัวกลางแบบCSMA/CA อาศัยกลไกส่งแบบ DSSS รวมกับเทคนิค cuk ทำให้สามารถรับ - ส่งข้อมูลได้เร็วถึง 5.5 Mbpsและ 11 Mbpsความแตกต่าง ของ IEEE802.a ใช้กลไกการส่งแบบ OFDM ซึ่งรองรับความเร็วได้ถีง 54 Mbps
2. ย่านความถี่ ISM band มีอะไรบ้าง
ตอบ 1. ย่านความถี่ที่ 900 MHz มีแบบความกว้างตั้งแต่ 2.400 ถึง 928 MHz
2. ย่านความถี่ที่ 2.4 GHz มีแถบความกว้างตั้งแต่ 2.400 ถึง 2.4835 MHz
3. ย่านความถี่ที่ 5 GHz มีแถบความกว้างตั้งแต่ 5.725 ถึง 5.850 MHz
3. จงอธิบายพฤติกรรมของคลื่น Diffraction , Interference
-Diffraction อธิบายได้ด้วยหลักกการของฮอยเกนส์ คือ หน้าคลื่นที่ผ่านตัวกันมานั้นจะทำหน้าที่เป็นต้นกำเนิดคลื่นใหม่ที่มีหน้าที่คลื่นเป็นวงกลม ทำให้เกิดคลื่นวงกลมหลังตัวกั้น
-Interference อธิบายเกิดจากคลื่นสองขบวนที่เหมือนกันทุกประการเคลื่อนที่มาพบกันแล้วเกิดการซ้อนทับกันถ้าเป็นคลื่นแสงจะเห็นแถบมืดและแถบสว่างสลับกัน ส่วนคลื่นเสียงจะได้ยินเสียงดังเสียงค่อยสลับกัน
4. ระบุ specify ของอุปกรณ์เครือข่าย
5. จงบอกประโยชน์ของเครือข่ายไร้สาย
ตอบ 1. ผู้ใช้สามารถใช้งานไฟล์ อุปกรณ์ต่างๆโดยไม่ต้องต่อสายและสามารถใช้อุปกรณ์มือถือซึ่งยังคงความเร็วสูงและ Real time
2. เวลาที่ใช้ในการติดตั้งลดลงเพราะการติดตั้งไม่ยุ่งยากกับสายต่างๆ
3. การใช้งานสะดวกขึ้นในการใช้ WLAN
4. จาก Topologies ของ WLAN เป็นการง่ายที่จะใช้และกำหนดขอบเขต
5. ทำให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพขึ้น
6. การติดต่อสื่อสารอย่างทันท่วงทีกับทีมงาน
7. พนักงานเกิดความพอใจในการทำงานมากขึ้น
8. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบเครือข่ายในระยะยาว
9. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบเพราะอุปกรณ์ Wireless ไม่ต้องใช้สาย
6. จงอธิบายการทำงานของ ALOHA ,CSMA/CA
ตอบ 1. การทำงานของ CSMA/CA คือ เมื่อสถานีหนึ่งต้องการเข้าใช้ช่องสัญญาณสถานีดังกล่าวจะต้องตรวจสอบช่องสัญญาณก่อนว่ามีสถานีอื่นทำการรับส่งสัญญาณข่อมูลอยู่หรือไม่และรอจนกว่าช่องสัญญาณว่าง ซึ่งแต่ละสถานีได้กำหนดระยะเวลาในการรอแล้ว ด้วยการสุ่มค่าหลังจากเสร็จการใช้ช่องสัญญาณครั้งก่อน
7.จงอธิบายหลักการทำงานของ FHSS, DSSS, OFDM
1. FHSS หลักการทำงานสัญญาณจะกระโดดจากความถี่หนึ่งไปยังความถี่หนึ่งในอัตราที่ได้กำหนดไว้ซึ่งจะรู้กันเฉพาะตัวรับกับตัวส่งเท่านั้น
2. DSSS หลักการทำงานจะมีการส่ง chipping code ไปกับสัญญาณแต่ละครั้งด้วยซึ่งจะมีเฉพาะตัวรับกับตัวส่งเท่านั้นที่จะรู้ลำดับของ chip
3. OFDM หลักการทำงานถูกสร้างมาเพื่อใช้งานสำหรับระบบสื่อสารไร้สายแบบเคลื่อนที่แบนด์กว้างมีอัตราการส่งข้อมูลสูงๆ เช่น ระบบ LAN
8. การลดทอนของสัญญาณคืออะไร
ตอบ คือ การออกแบบเครือข่ายไร้สายแต่ละประเภทจะต้องเลือกใช้สมการให้เหมาะสมกับระบบที่จะทำการออกแบบทั้งนี้จึงจะทำให้ได้ค่าใกล้เคียงกับสภาพจริงและทำให้ระบบมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
9. กำลังส่งและกำลังรับหมายความว่าอย่างไร
ตอบ กำลังส่ง หมายความว่า Path Loss เป็นการลดทอนสัญญาณที่กำลังส่งสัญญาณจะลดลงอย่างคงที่ตามระยะทางในการส่งสัญญาณกำลังรับ หมายความว่า การที่เครื่องรับได้รับสัญญาณจาก 2 ทิศทางหรือมากกว่านั้นแล้วทำให้มีการสูญเสียเนื่องจากเกิดการรบกวนกันของสัญญาณที่มาจากทิศทางนั้น
10. Cell sizing คืออะไร
ตอบ การแบ่งสัญญาณเครือข่ายไร้สายให้ข้างบ้านใช้งานด้วยการติดตั้งระบบเครือข่ายควรดูรัศมีที่ต้องการใช้งานและเลือกใช้รวมถึงติดตั้งอุปกรณ์ที่ส่งสัญญาณให้เหมาะสมกับรัศมีนั้น

วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ข้อสอบ 30 ข้อ เรียนวันจันทร์

ข้อสอบ 30 ข้อ
1. มาตรฐาน IEEE 802.11a ให้กลไกเข้าถึงตัวกลางแบบใด
ก. CSMA/CA
ข. OFDM
ค. LOW Band
ง. ถูกทุกข้อ
เฉลย ข้อ ก
2. การพัฒนากลไกการส่งแบบ OFDM ซึ่งรองรับความเร็วได้ถึงกี่ Mbps
ก .44Mbps
ข. 54 Mbps
ค.64 Mbps
ง . 74 Mbps
เฉลยข้อ ข
3. การพัฒนากลไกการส่งแบบ OFDM ซึ่งรองรับความเร็วได้มีการใช้ช่วงความถี่อยู่กี่ช่วง
ก. 1 ช่วง
ข.2 ช่วง
ค . 3 ช่วง
ง .4 ช่วง
เฉลยข้อ ค
4. IEEE 802.11i จานำเอาเทคนิคชั้นสูงมาใช้ในการเข้ารหัสข้อมูลด้วยอะไรที่มีการเปลี่ยนค่าอยู่เสมอ
ก. key
ข. Wlan
ค. 83.5MH2
ง. 300MH2
เฉลยข้อ ก
5.อุปกรณ์ของ Wireless LAN มีอุปกรณ์หลักๆอยู่กี่ชนิด
ก . 1 ชนิด
ข. 2 ชนิด
ค. 3 ชนิด
ง. 4 ชนิด
เฉลยข้อ ค
6.คุณสมบัติของ IEEE 802.11b จะสามารถรับ – ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงสุดที่กี่ Mbps
ก.11 Mbps
ข.12 Mbps
ค.13 Mbps
ง. 14 Mbps
เฉลยข้อ ก
7. การเปรียบเทียบมาตรฐานเครือข่ายไร้สายซึ่งมีจุดเริ่มต้นและใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี ค.ศ ใด
ก.1987
ข. 1997
ค.1998
ง.1999
เฉลยข้อ ข
8. สะพานเชื่อมโยงไร้สาย (Wireless Bridge) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงของระบบเครือข่ายใด
ก. อีเทอร์เน็ต
ข. อินเตอร์เน็ต
ค. เครือข่ายแลน
ง. ถูกทุกข้อ
เฉลยข้อ ก
9.ประเภทของเสาอากาศมีกี่ประเภท
ก.1 ประเภท
ข. 2 ประเภท
ค. 3 ประเภท
ง. 4 ประเภท
เฉลยข้อ ข
10.เสาอากาศแบบใดมีลักษณะการกระจายสัญญาณแบบทิศทางที่แน่นอน

ก.เสาอากาศแบบทิศทาง
ข.เสาอากาศแบบรอบตัว
ค.เสาอากาศแบบทิศทางเดียว
ง. ถูกทุกข้อ
เฉลยข้อ ก
11.อัตราการส่งข้อมูลอัตราความเร็วจะลดลงเองอย่างอัตโนมัติขึ้นอยู่กับระยะทางระหว่างอะไรบ้าง
ก.Access Point
ข.54Mbps
ค.64Mbps
ง.802.11a
เฉลยข้อ ก
12. ในการทำงานของมาตรฐาน IEEE802.11b มีอัตราการส่งข้อในอัตราตั้งแต่ Mbps เท่าใด
ก. 2-11 Mbps
ข . 3-11Mbps
ค .4-11Mbps
ง.1-11Mbps
เฉลยข้อ ง
13.สมบัติชองคลื่น (Wave Properties) คลื่นทุกชนิดแสดงสมบัติกี่อย่าง
ก.3 อย่าง
ข.4 อย่าง
ค.5อย่าง
ง.6 อย่าง
เฉลยข้อ ข
14. ทฤษฎี Path Loss Model เป็นสมการที่ใช้ในการหา Loss ทั้งหมดที่เกิดขึ้นตามระยะทางเป็นอย่างไร
ก. Free Space
ข.Space
ค.Free
ง.ถูกทุกข้อ
เฉลย.ข้อ ก
15. ทฤษฎี C294-7 path loss Model เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับอะไร
ก. การสะท้อนของคลื่น
ข.การแพร่ของคลื่นวิทยุ
ค.การหักเหของแสง
ง.ถูกทุกข้อ
เฉลยข้อ ก
16. หน่วยที่ใช้เรียกขนาดของกำลังไฟฟ้ามีชื่อเรียกว่าอะไร
ก.Watt
ข.db
ค.dbm
ง.Mbps
เฉลยข้อ ก
17.ถ้าเราใช้เครือข่ายไร้สายที่ความถี่ 2.4 GHz มีอัตราขยายของเสาอากาศที่ 7dbi เราจะมีอัตราขยายสูงสุดที่กี่ dbm
ก.25dbm
ข.26dbm
ค.27dbm
ง.28dbm
เฉลยข้อ ค
18.อัตรากำลังส่งจาก Access Point ที่มี Loss 3db เกนขยาย 10 dbi เราจะมีอัตราขยายสูงสุดที่มีกี่ dbm
ก.2 db
ข.3db
ค.4db
ง .5dbเฉลยข้อ ข
19. อัตรากำลังส่งจาก Access Point ที่มี loss 3 db เกมขยายกี่dbi
ก.13 dbi
ข.14 dbi
ค.15dbi
ง.16dbi
เฉลยข้อ ง
20. เครื่อข่ายไร้สายที่ความถี่ 2.4 GHzมีอัตราขยายของเสาอากาศที่กี่ dbi
ก.7dbi
ข .8dbi
ค .9 dbi
ง.10 dbi
เฉลยข้อ ก
21.db(Decibel)คือหน่วยวัดกำลังส่งอัตราขยายสัญญาณ แบบใด
ก .หน่วยวัดกำลังไฟฟ้า
ข. หน่วยวัดอัตราการลดทอน
ค . ค่ากำลังงานอ้างอิง
ง. ถูกทุกข้อ
เฉลยข้อ ข
22.สถาพแวดล้อมแบบใดเมื่อคาPath loss expent ที่เดินทางแบบพื้นที่โล่งจะมีค่าเท่ากับกี่ dbเป็นต้น
ก.2 db
ข .3 db
ค .4 db
ง.5 db
เฉลยข้อ ก
23.เมื่อระยะทางเพิ่มขึ้นเป็น 2เท่า เช่น 2 เมตร 4 เมตร 16 เมตร เราจะพบว่าค่า loss จะเพิ่มขึ้นกี่ db
ก .2db
ข .4 db
ค .6 db
ง.8db
เฉลยข้อ ค
24.ในการสื่อสารไร้สายโดยใช้คลื่นวิทยุโดยธรรมชาติของคลื่นเมื่อแพร่กระจายออกไปก็จะมีการผ่านอะไรบ้าง
ก ผ่านชั้นอากาศ
ข ผ่านชั้นผิวหนัง
ค ผ่านอิเล็กทรอนิกส์
ง ไม่มีข้อถูก
เฉลยข้อ ก
25. อุปกรณ์กระจายคลื่นทำหน้าที่อย่างไร
ก ทำหน้าที่รับ และ ส่งข้อมูล
ข ทำหน้าที่รับและส่งข้อมูลระหว่างโครงข่ายแบบไร้สาย
ค เป็นตัวกลางเชื่อมโยง
ง ทำหน้าที่ผ่านคู่สายโทรศัพท์
เฉลยข้อ ข
26 โครงข่ายแบบใช้สายผ่านมาตรฐานเคเบิ้ลแบบใด
ก Ethernet
ข Nthernet
ค Itherney
ง Inthernet
เฉลยข้อ ก
27. Wireless Broadband Router ทำหน้าที่ในการต่อเข้ากับระบใด
ก ระบบอินเตอร์เน็ต
ข ระบบอินเทอร์เน็ต
ค ระบบแลน
ง ระบบแวน
เฉลยข้อ ข
28. หน้าที่หลักของเสาอากาศก็คือ
ก การแปลงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ข การแปลงสัญญาณวิทยุไปเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ค แปลงเสาอากาศไปเป็นสัญญาณ
ง ถูกทุกข้อ
เฉลยข้อ ข
29. ในย่านความถี่ที่ 2.4 GHzนั้นมีการ modulateสัญญาณกี่แบบ
ก 1แบบ
ข 2 แบบ
ค 3แบบ
ง 4แบบ
เฉลยข้อ ข
30. ฟูลดูเพล็กหมายถึง
ก รับและส่งแยกกันด้วยความเร็ว 11 เมกะบิตต่อวินาที
ข การพัฒนาให้ใช้ความเร็วในการรับส่งได้
ค การกระจายข้อมุลออกไปในช่วงต่างๆ
ง การแก้ไขทำได้โดยทำเทคนิคการโมดูเลชัน
เฉลยข้อ ก

เรียนวันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม 2551

1. มาตรฐาน IEEE802.15
มาตรฐาน IEEE 802.15 (IEEE 802.15 Working Group) สำหรับเครื่องข่ายไร้สายส่วนบุคคล หรือดับเบิลยูแพน (WPAN) ซึ่งมีการประชุมกันในสัปดาห์นี้ด้วยเช่นกัน เครือข่ายไร้สายส่วนบุคคลนี้ หมายถึงเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงสำหรับการสื่อสารระยะสั้น ตัวอย่างเช่น การซิงค์ข้อมูลระหว่างเครื่องพีดีเอกับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี หรือการเชื่อมต่อทีวีกับเซ็ตท็อปบ็อกซ์ของเคเบิลทีวี เทคโนโลยีที่ได้รับเลือกจะได้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า “802.15.3a” ซึ่งคาดว่าจะทำรายได้มหาศาลระดับ 1.39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 6 หมื่นล้านบาท) ในปี 2007 ตามการรายงานของซีเน็ตโดยอ้างถึงประมาณการณ์ของบริษัทเอบีไอ (Allied Business Intelligence; ABI) ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยตลาดเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม แม้จะยังไม่มีความชัดเจนในตัว “802.15.3a” แต่ที่ค่อนข้างแน่นอนแล้วก็คือ เทคโนโลยีที่พัฒนาโดยกองทัพสหรัฐฯชื่อ “อัลตร้าไวด์แบนด์” หรือ “ยูดับเบิลยูบี” (Ultra Wideband; UWB) ซึ่ง 95% ของข้อเสนอที่ยื่นเข้ามาเลือกใช้เทคนิคนี้ ตามคำกล่าวของ เบน แมนนี (Ben Manny) ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีไร้สาย บริษัทอินเทล ผู้ให้การสนับสนุนเทคโนโลยีอัลตร้าไวด์แบนด์กล่าวว่า มันถูกกว่าและกินพลังงานน้อยกว่าบลูทูธ ทั้งยังมีความเร็วสูงกว่าบลูทูธประมาณ 100 เท่า ซึ่งเหมาะสำหรับอุปกรณ์โฮมเอนเตอร์เทนเมนต์ด้วย บลูทูธ (Bluetooth) คือเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับเครือข่ายไร้สายส่วนบุคคล และเป็นที่ยอมรับของผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือและพีดีเอชั้นนำทั่วโลก รวมถึงบริษัทไมโครซอฟท์ (Microsoft) และบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ (Apple Computer) แต่ผู้ไม่เห็นด้วยกับเทคโนโลยีนี้แย้งว่า เพราะอัลตร้าไวด์แบนด์เป็นช่องสัญญาณสื่อสารความถี่กว้าง ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้อาจไปกวนความถี่ในช่องสัญญาณอื่นที่อยู่ใกล้ๆและกำลังใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น ไว-ไฟ (Wi-Fi) “สนีคกี้เวฟ” “อัลตร้าไวด์แบนด์” หรือ “สนีคกี้เวฟ” เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นภายในกองทัพสหรัฐฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้สื่อสารระยะสั้นแบบไร้สายและขจัดปัญหาการถูกดักฟัง คลื่นวิทยุส่วนใหญ่จะเป็นคลื่นความถี่ชนิดแนร์โรว์แบนด์ (Narrow Band) ตัวอย่างเช่น โทรศัพท์มือถือที่ใช้ช่องสัญญาณในช่วง 100MHz แต่อัลตร้าไวด์แบนด์จะสูงกว่านั้นหลายสิบหลายพันเท่า บางบริษัทยอมรับว่า อัลตร้าไวด์แบนด์มีช่องสัญญาณที่กว้างมากๆ นั่นเป็นธรรมชาติของมัน หลายรายแก้ไขโดยการซอยช่องความถี่อัลตร้าไวด์แบนด์ออกเป็นช่องสัญญาณเล็กๆซึ่งแต่ละช่องจะมีความถี่ประมาณ 1,000MHz ตัวอย่างเช่น บริษัทเอ็กซ์ตรีมสเปกตรัม (XtremeSpectrum) ที่ซอยช่องสัญญาณอัลตร้าไวด์แบนด์ออกเป็น 2 ช่องสัญญาณย่อย ซึ่งวิธีนี้ได้รับการสนับสนุนจากโมโตโรลา (Motorola) ด้วย ตามการเปิดเผยของตัวแทนจากบริษัทเอ็กซ์ตรีมสเปกตรัม ขณะที่บริษัทอื่น เช่น อินเทลซอยออกเป็น 14 ช่องสัญญาณ
2.มาตรฐานIEEE.802.11
มาตรฐาน IEEE 802.11 ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2540 โดย IEEE (The Institute of Electronics and Electrical Engineers) และเป็นเทคโนโลยีสำหรับ WLAN ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด คือข้อกำหนด (Specfication) สำหรับอุปกรณ์ WLAN ในส่วนของ Physical (PHY) Layer และ Media Access Control (MAC) Layer โดยในส่วนของ PHY Layer มาตรฐาน IEEE 802.11 ได้กำหนดให้อุปกรณ์มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 1, 2, 5.5, 11 และ 54 Mbps โดยมีสื่อ 3 ประเภทให้เลือกใช้ได้แก่ คลื่นวิทยุที่ความถี่สาธารณะ 2.4 และ 5 GHz, และ อินฟราเรด (Infarred) (1 และ 2 Mbps เท่านั้น) สำหรับในส่วนของ MAC Layer มาตรฐาน IEEE 802.11 ได้กำหนดให้มีกลไกการทำงานที่เรียกว่า CSMA/CA (Carrier Sense Multiple Access/Collision Avoidance) ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับหลักการ CSMA/CD (Collision Detection) ของมาตรฐาน IEEE 802.3 Ethernet ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไปในเครือข่าย LAN แบบใช้สายนำสัญญาณ นอกจากนี้ในมาตรฐาน IEEE802.11 ยังกำหนดให้มีทางเลือกสำหรับสร้างความปลอดภัยให้กับเครือข่าย IEEE 802.11 WLAN โดยกลไกการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) และการตรวจสอบผู้ใช้ (Authentication) ที่มีชื่อเรียกว่า WEP (Wired Equivalent Privacy) ด้วย

วิวัฒนาการของมาตรฐาน IEEE 802.11
มาตรฐาน IEEE 802.11 ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2540 ซึ่งอุปกรณ์ตามมาตรฐานดังกล่าวจะมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 1 และ 2 Mbps ด้วยสื่อ อินฟราเรด (Infarred) หรือคลื่นวิทยุที่ความถี่ 2.4 GHz และมีกลไก WEP ซึ่งเป็นทางเลือกสำหรับสร้างความปลอดภัยให้กับเครือข่าย WLAN ได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากมาตรฐาน IEEE 802.11 เวอร์ชันแรกเริ่มมีประสิทธิภาพค่อนข้างต่ำและไม่มีการรองรับหลักการ Quality of Service (QoS) ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด อีกทั้งกลไกรักษาความปลอดภัยที่ใช้ยังมีช่องโหว่อยู่มาก IEEE จึงได้จัดตั้งคณะทำงาน (Task Group) ขึ้นมาหลายชุดด้วยกันเพื่อทำการปรับปรุงเพิ่มเติมมาตรฐานให้มีศักยภาพสูงขึ้น โดยคณะทำงานกลุ่มที่มีผลงานที่น่าสนใจและเป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ IEEE 802.11a, IEEE 802.11b, IEEE 802.11e, IEEE 802.11g, และ IEEE 802.11i


IEEE 802.11b
คณะทำงานชุด IEEE 802.11b ได้ตีพิมพ์มาตรฐานเพิ่มเติมนี้เมื่อปี พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากที่สุด มาตรฐาน IEEE 802.11b ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า CCK (Complimentary Code Keying) ผนวกกับ DSSS (Direct Sequence Spread Spectrum) เพื่อปรับปรุงความสามารถของอุปกรณ์ให้รับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงสุดที่ 11 Mbps ผ่านคลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz (เป็นย่านความถี่ที่เรียกว่า ISM (Industrial Scientific and Medical) ซึ่งถูกจัดสรรไว้อย่างสากลสำหรับการใช้งานอย่างสาธารณะด้านวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม และการแพทย์ โดยอุปกรณ์ที่ใช้ความถี่ย่านนี้ก็เช่น IEEE 802.11, Bluetooth, โทรศัพท์ไร้สาย, และเตาไมโครเวฟ) ส่วนใหญ่แล้วอุปกรณ์ IEEE 802.11 WLAN ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันจะเป็นอุปกรณ์ตามมาตรฐาน IEEE 802.11b นี้และใช้เครื่องหมายการค้าที่รู้จักกันดีในนาม Wi-Fi ซึ่งเครื่องหมายการค้าดังกล่าวถูกกำหนดขึ้นโดยสมาคม WECA (Wireless Ethernet Compatability Alliance) โดยอุปกรณ์ที่ได้รับเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ผ่านการตรวจสอบแล้วว่าเป็นไปตามมาตรฐาน IEEE 802.11b และสามารถนำไปใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ยี่ห้ออื่นๆที่ได้รับเครื่องหมาย Wi-Fi ได้

IEEE 802.11a
คณะทำงานชุด IEEE 802.11a ได้ตีพิมพ์มาตรฐานเพิ่มเติมนี้เมื่อปี พ.ศ. 2542 มาตรฐาน IEEE 802.11a ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า OFDM (Orthogonal Frequency Division Multiplexing) เพื่อปรับปรุงความสามารถของอุปกรณ์ให้รับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงสุดที่ 54 Mbps แต่จะใช้คลื่นวิทยุที่ความถี่ 5 GHz ซึ่งเป็นย่านความถี่สาธารณะสำหรับใช้งานในประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีสัญญาณรบกวนจากอุปกรณ์อื่นน้อยกว่าในย่านความถี่ 2.4 GHz อย่างไรก็ตามข้อเสียหนึ่งของมาตรฐาน IEEE 802.11a ที่ใช้คลื่นวิทยุที่ความถี่ 5 GHz ก็คือในบางประเทศย่านความถี่ดังกล่าวไม่สามารถนำมาใช้งานได้อย่างสาธารณะ ตัวอย่างเช่น ประเทศไทยไม่อนุญาตให้มีการใช้งานอุปกรณ์ IEEE 802.11a เนื่องจากความถี่ย่าน 5 GHz ได้ถูกจัดสรรสำหรับกิจการอื่นอยู่ก่อนแล้ว นอกจากนี้ข้อเสียอีกอย่างหนึ่งของอุปกรณ์ IEEE 802.11a WLAN ก็คือรัศมีของสัญญาณมีขนาดค่อนข้างสั้น (ประมาณ 30 เมตร ซึ่งสั้นกว่ารัศมีสัญญาณของอุปกรณ์ IEEE 802.11b WLAN ที่มีขนาดประมาณ 100 เมตร สำหรับการใช้งานภายในอาคาร) อีกทั้งอุปกรณ์ IEEE 802.11a WLAN ยังมีราคาสูงกว่า IEEE 802.11b WLAN ด้วย ดังนั้นอุปกรณ์ IEEE 802.11a WLAN จึงได้รับความนิยมน้อยกว่า IEEE 802.11b WLAN มาก


IEEE 802.11g
ทำงานชุด IEEE 802.11g ได้ใช้นำเทคโนโลยี OFDM มาประยุกต์ใช้ในช่องสัญญาณวิทยุความถี่ 2.4 GHz ซึ่งอุปกรณ์ IEEE 802.11g WLAN มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดที่ 54 Mbps ส่วนรัศมีสัญญาณของอุปกรณ์ IEEE 802.11g WLAN จะอยู่ระหว่างรัศมีสัญญาณของอุปกรณ์ IEEE 802.11a และ IEEE 802.11b เนื่องจากความถี่ 2.4 GHz เป็นย่านความถี่สาธารณะสากล อีกทั้งอุปกรณ์ IEEE 802.11g WLAN สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ IEEE 802.11b WLAN ได้ (backward-compatible) ดังนั้นจึงมีแนวโน้มสูงว่าอุปกรณ์ IEEE 802.11g WLAN จะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายหากมีราคาไม่แพงจนเกินไปและน่าจะมาแทนที่ IEEE 802.11b ในที่สุด ตามแผนการแล้วมาตรฐาน IEEE 802.11g จะได้รับการตีพิมพ์ประมาณช่วงกลางปี พ.ศ. 2546

3. อุปกรณ์เครือข่ายไร้สายมีอะไรบ้าง
เครือข่ายไร้สายที่จะนำมาใช้งานประกอบขึ้นด้วยอุปกรณ์ประเภทต่างๆ มากมาย ซึ่งมีทั้งออกแบบมาสำหรับใช้งานกับผู้ใช้งานภายในบ้านและผู้ใช้งานภายในองค์กรต่างๆ
PCI Card ในเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ หลายๆ รุ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมนบอร์ดในระดับไฮเอนด์ จะมีคุณสมบัติไร้สายแบบ Built-in ให้มาด้วย แต่ถ้าท่านต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพีซีที่มีอยู่ต้องการใช้งานร่วมกับระบบไร้สาย ได้ก็สามารถเลือกติดตั้ง PCI Card ได้ ด้วยการถอดฝาครอบเครื่องของเราออกแล้วติดตั้งเข้าไปได้ทันที การ์ดอีเทอร์เน็ตไร้สายแบบนี้นั้นจะมีเสาส่งสัญญาณแบบ Dipole ให้มาด้วย 1 เสา ถอดเปลี่ยนได้มาให้พร้อมกันด้วย ซึ่งผู้ใช้งานนั้นสามารถที่จะปรับองศาให้หันไปทิศทางที่ Access Point ตั้งอยู่เพื่อให้ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนสัญญาณระหว่างกันนั้นดีขึ้นได้

PCMCIA Card เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กที่มีจำหน่ายในปัจจุบันนี้นิยมผนวกรวมความสามารถในการใช้งานเครือข่ายไร้สายเข้าไว้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโน้ตบุ๊กที่ใช้งานเทคโนโลยี Intel Centrino ของทาง Intel แต่ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กของท่านไม่สามารถใช้งานเครือข่ายไร้สาย ก็สามารถหาซื้อการ์ดแบบ PCMCIA CardBus Adapter มาติดตั้งได้ โดยลักษณะของตัวการ์ดจะมีขนาดเล็กเท่าบัตรเครดิต บางเบาและน้ำหนักน้อยจึงสามารถติดตั้งเข้ากับสล็อตแบบ PCMCIA ของเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กได้โดยง่ายทีเดียว

Access Pointเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เป็นตัวกลางในการรับและส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งการ์ดเครือข่ายไร้สายให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ลักษณะการทำงานจะเป็นเช่นเดียวกับ Hub ที่ใช้กับระบบเครือข่ายใช้สาย โดย Access Point จะมีพอร์ต RJ-45 สำหรับใช้เพื่อเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายใช้สายที่ใช้งานกันอยู่
Wireless Broadband Router อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงระดับ ADSL ซึ่งออกแบบมาสำหรับจุดประสงค์การใช้งานอย่างหลากหลายเป็นทั้ง Router, Switch และ Access Point ปกติผู้ผลิตจะออกแบบมาให้มีพอร์ตเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์แบบใช้สายจำนวน 4 พอร์ต แต่ผู้ผลิตหลายรายก็ออกอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กขนาดพ็อกเก็ตที่มีปุ่มสลับโหมดการทำงานมาให้ใช้ ซึ่งเหมาะสำหรับการเคลื่อนย้ายบ่อยครั้ง

Wireless Bridge เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาสำหรับใช้เชื่อมต่อเครือข่าย 2 เครือข่าย ให้สื่อสารกันได้ มีให้เลือกใช้งานทั้งแบบติดตั้งภายนอกซึ่งใช้เชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างอาคาร และแบบที่ติดตั้งภายในอาคาร โดย Wireless Bridge มี 2 ลักษณะให้เลือกใช้ คือ แบบที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างจุดต่อจุด (Point-to-Point) และแบบจุดต่อหลายจุด (Point-To-Multipoint)

Wireless PrintServer สำหรับเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องพิมพ์เพื่อให้มีความสามารถในแบบไร้สาย มีทั้งรุ่นที่ออกแบบมาสำหรับใช้งานกับเครื่องพิมพ์ที่มีพอร์ต Parallel, USB หรือทั้งสองพอร์ตร่วมกันด้วย

PoE (Power over Ethernet) Adapter เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาสำหรับแก้ไขข้อยุ่งยากในการเดินสายไฟฟ้าเพื่อใช้งานกับอุปกรณ์ไร้สาย โดยหันมาใช้วิธีการจ่ายไฟผ่านสายนำสัญญาณ UTP ที่ยังมีคู่สายที่ยังไม่ถูกนำมาใช้งานมาทำหน้าที่แทน ซึ่งอุปกรณ์PoE Adapter จะมี 2 ส่วน คือ Power Injector เป็นอุปกรณ์กำเนิดไฟฟ้าและนำสัญญาณข้อมูลจาก Switch Hub เข้าไปสายนำสัญญาณสู่อุปกรณ์ไร้สายอย่าง Access Point และอีกอุปกรณ์เป็น Spliter ที่ใช้แยกสัญญาณข้อมูลและไฟฟ้าให้กับ Access Point ผู้ผลิตหลายรายในปัจจุบันออกแบบให้ Switch สนับสนุนมาตรฐาน IEEE 802.3af (PoE) มาพร้อมด้วย

4.สเปคอุปกรณ์ของอุปกรณ์ไร้สายพร้อมราคาคุณสมบบัติ
การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับใช้งานกับเครือข่ายไร้สายนั้น มีข้อพิจารณาไม่ได้แตกต่างไปจากผลิตภัณฑ์เครือข่ายใช้สายเท่าใดนัก โดยคุณสมบัติที่ควรมีมีดังต่อไปนี้มาตรฐานใดที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน ในปัจจุบันมาตรฐานที่นิยมใช้กันงานกันอยู่จะเป็นมาตรฐาน IEEE802.11g ซึ่งรองรับอัตราความเร็วสูงสุดในระดับ 54 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งานโดยทั่วๆ ไปในปัจจุบันได้อย่างดี พร้อมกันนั้นก็ยังสนับสนุนการทำงานร่วมกันกับมาตรฐานเดิมอย่าง IEEE802.11b ได้อย่างไร้ปัญหา แต่ในขณะนี้ก็เริ่มที่จะเห็นผู้ผลิตหลายๆ รายต่างส่งผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนเทคโนโลยี MIMO ออกมามากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นที่คาดหมายกันว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ เครือข่ายไร้สายที่ให้แบนด์วิดท์, ให้ประสิทธิภาพการใช้งานที่มากกว่าและมีรัศมีการทำงานที่ดีกว่านั้นจะเข้ามาทดแทนมาตรฐาน IEEE 802.1g เดิม แต่ผลิตภัณฑ์ที่จะใช้งานคุณสมบัติเหล่านี้ได้อย่างเต็มพิกัดจะต้องเป็นอุปกรณ์จากซีรีส์เดียวกัน ซึ่งตอนนี้ยังมีราคาแพงอยู่มาก การเลือกใช้อุปกรณ์สำหรับมาตรฐาน IEEE802.11g จึงยังคงเป็นคำตอบที่คุ้มค่ามากที่สุดอยู่ ระบบอินเตอร์เฟซแบบไหนสำหรับคุณ การ์ดอีเทอร์เน็ตไร้สายก็มีหลายแบบหลายชนิดให้เราๆ ได้เลือกใช้เช่นเดียวกัน สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊กคุณสมบัติแบบไร้สายดูจะถูกผนวกรวมมาพร้อมกับตัวเครื่องแล้ว แต่สำหรับท่านที่ยังต้องการการ์ดไร้สายสำหรับโน้ตบุ๊กตัวโปรดอยู่ Wireless PCMCIA Card คือคำตอบสุดท้าย หรือถ้าอยากจะใช้งานร่วมกับเครื่องพีซีอย่างคุ้มค่าก็ควรเลือกการ์ดแบบ USB Adapter ที่ราคาอาจจะแพงขึ้นมาหน่อยแต่ก็แลกมากับความคุ้มค่าใช้งานได้หลากหลายกว่า สำหรับท่านที่มีเครื่องพีซีก็มีอินเทอร์เฟซแบบ PCI Card มาเป็นตัวเลือกเช่นเดียวกัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะมาพร้อมสายสัญญาณและเสาอากาศที่ตั้งบนที่สูงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการสื่อสารได้ ผลิตภัณฑ์เชื่อมโยงสัญญาณระหว่างกัน นอกจากจะสนับสนุนการทำงานในแบบ Ad-Hoc หรือ Peer-to-Peer แล้ว ระบบเครือข่ายไร้สายก็ยังสามารถใช้ Access Point เป็นจุดเชื่อมต่อสัญญาณกับเครือข่ายใช้สายเพื่อการแชร์การใช้ทรัพยากรร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการได้ยืดหยุ่นกว่า ในแบบ Insfrastructure โดยถ้ายังไม่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตหรือติดตั้งระบบเครือข่ายมาก่อน ก็ควรจะเลือกใช้อุปกรณ์อย่าง Wireless Router ที่มีคุณสมบัติในแบบ All-in-One จะให้ความคุ้มค่าได้มากกว่า หรือถ้ามีการใช้งานเครือข่ายใช้สายและไร้สายอยู่ก่อนแต่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้งาน การเลือกใช้ Access Point ที่สนับสนุนโหมดการทำงานแบบ Bridge และ Repeater ร่วมด้วย ดูจะเป็นการลงทุนที่ดูคุ้มค่ากว่า ปกป้องการใช้งานด้วยระบบรักษาความปลอดภัย สิ่งที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษในการจัดซื้อผลิตภัณฑ์ระบบเครือข่ายไร้สายก็คือ การสื่อสารไร้สายนั้นเป็นการติดต่อสื่อสารด้วยการใช้คลื่นวิทยุที่แพร่ไปตามบรรยากาศ จึงต้องให้ความสนใจในการเข้ารหัสข้อมูล ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันการดักจับสัญญาณจากผู้ไม่ประสงค์ดี การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ไร้สายจึงต้องคำนึงถึงฟังก์ชันการเข้ารหัสที่ใช้ ซึ่งเทคนิคที่ใช้งานโดยทั่วๆ ไป สำหรับผู้ใช้ตามบ้าน Wired Equivalent Privacy หรือ WEP ขนาด 64/128-bit ร่วมกับ MAC Address Filtering ก็ดูจะเพียงพอ แต่สำหรับการใช้งานภายในองค์กรนั้นเทคนิคการตรวจสอบและกำหนดสิทธิ์การใช้งานต้องดูแข็งแกร่งกว่าโดยเลือกใช้ WPA (Wi-Fi Protected Privacy) ซึ่งใช้คีย์การเข้ารหัสที่น่าเชื่อถือร่วมกันกับเทคนิคการตรวจสอบและการกำหนดสิทธิ์ในแบบ 2 ฝั่ง แบบอื่นๆ อย่าง RADIUS ร่วมด้วยจึงเป็นคำตอบที่เหมาะสม เสารับส่งสัญญาณของผลิตภัณฑ์ สำหรับเสาอากาศของการ์ดไร้สายนั้น ถ้าเป็นการ์ดแบบ PCMCIA และแบบ USB จะเป็นเสาอากาศ Built-in มาพร้อมตัวการ์ด ส่วนการ์ดแบบ PCI นั้นจะเป็นเสาอากาศแบบ Reverse-SMA Connector ซึ่งสามารถถอดออกได้ โดยที่พบเห็นจะเป็นทั้งในแบบเสาเดี่ยวๆ ที่หมุนเข้ากับตัวการ์ด และอีกแบบจะเป็นแบบที่มีสายนำสัญญาณต่อเชื่อมกับเสาที่ตั้งบนพื้นหรือยึดติดกับผนังได้ ซึ่งการเลือกซื้อนั้นควรเลือกซื้อเสาอากาศแบบหลัง เนื่องจากให้ความยืดหยุ่นในการติดตั้งมากกว่า เพราะสามารถติดตั้งบนที่สูงๆ ได้ สำหรับอุปกรณ์อย่าง Access Point หรือ Wireless Router นั้นจะมีเสานำสัญญาณทั้งในแบบเสาเดี่ยวและ 2 เสา โดยการเลือกซื้อนั้นควรเลือกซื้อแบบ 2 เสา เนื่องจากให้ประสิทธิภาพในการรับส่งสัญญาณที่ดีกว่า โดยลักษณะของเสานั้นจะมีทั้งในแบบที่ยึดติดกับเข้ากับตัวอุปกรณ์ ซึ่งส่วนใหญ่จะพบเห็นในรุ่นที่ออกแบบมาสำหรับผู้ใช้งานตามบ้าน และอีกแบบเป็นเสาที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ ซึ่งหัวเชื่อมต่อนั้นจะเป็นทั้งแบบ Reverse-SMA Conector, SMA Conector และแบบ T-Connector ซึ่งถ้าจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนเสาอากาศควรจะเลือกซื้อจากทางผู้ผลิตรายเดียวกันเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่ซื้อหัวเชื่อมต่อผิดประเภท สำหรับชนิดของเสาอากาศที่มีจำหน่ายจะมี 2 ชนิดหลักๆ ก็คือ แบบ Omni-Direction Antenna ซึ่งเป็นเสาที่ทุกผู้ผลิตให้มากับตัวผลิตภัณฑ์แล้ว โดยคุณสมบัติของเสาประเภทนี้ก็คือ การรับและส่งสัญญาณในแบบรอบทิศทางในลักษณะเป็นวงกลม ทำให้การกระจายสัญญาณนั้นมีรัศมีโดยรอบ ครอบคลุมพื้นที่ แต่ถ้าต้องการใช้งานที่มีลักษณะรับส่งสัญญาณเป็นเส้นตรงเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการรับส่งและระยะทางตามต้องการก็มีเสาอีกชนิดหนึ่ง คือ Direction Antenna ซึ่งนิยมใช้งานกับผลิตภัณฑ์ประเภท Wireless Bridge สำหรับการสื่อสารในแบบ Point-to-Pointสำหรับท่านที่ต้องการเพิ่มระยะทางการเชื่อมต่อให้ได้ไกลมากยิ่งขึ้น ก็สามารถเลือกซื้อเสาอากาศ High Gain ที่มีการขยายสัญญาณสูงกว่าเสาอากาศที่ทางผู้ผลิตให้มากับตัวอุปกรณ์ โดยมีให้เลือกใช้หลายแบบทั้งในแบบที่มีค่า Gain 5, 8, 12, 14 หรือสูงกว่าได้ กำลังส่งที่ปรับได้ สำหรับการใช้งานผลิตภัณฑ์ไร้สายนั้น การปรับกำลังส่งสัญญาณได้นับว่าเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของตัวผลิตภัณฑ์ โดยกำลังส่งสูงสุดจะไม่เกิน 100mW หรือ 20dBm ซึ่งผู้ผลิตบางรายจะมีผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนกำลังสูงสุดนี้ทีเดียว โดยค่ากำลังส่งที่มากก็แสดงว่า สามารถที่จะแพร่สัญญาณไปในระยะทางที่ไกล หรือให้รัศมีที่มากขึ้น แต่ก็สามารถปรับกำลังส่งให้ลดต่ำลงเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานภายในองค์กรที่จะต้องใช้กำลังส่งให้เหมาะสมกับพื้นที่ เนื่องจากกำลังส่งสูงๆ อาจจะไปรบกวนสำนักงานข้างเคียงและอาจถูกลักลอบใช้งานระบบเครือข่ายไร้สายก็เป็นไปได้ การอัปเกรดเฟิร์มแวร์เพื่อเพิ่มเติมคุณสมบัติใหม่ๆ อุปกรณ์สำหรับระบบเครือข่ายไร้สายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Access Point, Wireless Router หรือผลิตภัณฑ์ไร้สายประเภทอื่นๆ ทางผู้ผลิตก็อาจจะเพิ่มเติมคุณสมบัติใหม่ๆ ในภายหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของฟังก์ชันการเข้ารหัส ซึ่งอุปกรณ์ที่ผลิตออกมาก่อนหน้าจะสนับสนุน WEP, WPA ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับระบบรักษาความปลอดภัยที่ต้องการความน่าเชื่อถือสูงมากกว่า ทำให้ผู้ผลิตรายต่างๆ มีการออกเฟิร์มแวร์รุ่นใหม่ๆ ที่สนับสนุนการทำงานเพิ่มเติมอย่างทำให้รองรับ WPA2 ซึ่งเป็นฟังก์ชันการเข้ารหัสรุ่นใหม่ล่าสุดของอุปกรณ์ไร้สายออกมา ซึ่งผู้ผลิตจะมีเมนูเชื่อมโยงเว็บไซต์เพื่อให้ผู้ใช้งานได้ดาวน์โหลดเฟิร์มแวร์รุ่นใหม่มาใช้งานได้

วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ข้อสอบปลายภาค50ข้อ เรียนวันจันทร์ที่ 20ตุลาคม 2551

1. พื้นที่ที่สัญญาณครอบคลุมการทำงานเรียกว่าอะไรa. AP b. BSSc. ESS d. DCF
เฉลย a. AP
2. ข้อใดไม่ถูกต้องในการกล่าวถึง Rang ของความถี่a. 902 MHz – 928 MHz b. 2.400 GHz – 2.8435 GHzc. 5.725 GHz – 5.855 GHzd. ข้อ ก. และ ข้อ ข.
เฉลย b. 2.400 GHz – 2.8435 GHz
จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถามจากข้อ 3 – 8 เขียนคำตอบลงในช่อง ก.
A. Industry
B. Science
C. Medical
D. 900 MHz
E. 2.400 GHz
F. IEEE802.11a
G. IEEE802.11b
H. 54 Mbits
I. 2 Mbits
J. 11 Mbits
K. DSSS
L. FHSS
M. ISM
3. Data Rate สูงสุดที่สามารถส่งข้อมูลได้ใน wireless Lan ที่ใช้ Machanism แบบ OFDM
เฉลย K.DSSS
4. Radio Frequency ที่ใช้งานเยอะที่สุดใน IEEE802.11
เฉลย L. FHSS
5. IEEE802.11b ใช้ machanism แบบใด
ตอบ C. Medical
6. Machanism แบบใดที่มี Data Rate 11 Mbits
เฉลย A. Industry
7. ย่านความถี่ที่อนุญาตให้ใช้ได้ในงานอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และการแพทย์
เฉลย D. 900 MHz
8. Radio frequency 2.400 GHz มีกี่ channela. 54 b. 69c. 79 d. 89
เฉลย c.799.
9.ในการ hop แต่ละ hop ใช้การ synchronize ต่างกันเท่าไหร่a. 0.4 ms per hop b. 0.45 ms per hopc. 0.2 ms per hop d. 0.25 ms per hop
เฉลย b.0.45 ms per hop
10. สถาปัตยกรรมของ wireless lan ใน mode ใดที่ต้องเดินสาย wire networka. ad-hoc b. Peer to peerc. Infrastructure d. BSS
เฉลย d.BSS
11. Routing Protocol มีกี่แบบ อะไรบ้างa. 2 แบบ Link state & Distance Vector b. 2 แบบ Link state & Dynamicc. 2 แบบ Dynamic & Staticd. 2 แบบ DGP & OSPF
เฉลย b. 2 แบบ Link state & Dynamic
12. ข้อใดไม่ใช่ข้อพิจารณาลักษณะของ Routing ที่ดีa. Cost ต่ำ b. Space ต่ำc. Delay ต่ำ d. Hop ต่ำ
เฉลย d. Hop ต่ำ
13. Protocol BGP พิจารณาการส่งข้อมูลจากอะไรa. จำนวนลิงค์ b. ระยะทางc. จำนวน router d. ราคาค่าเช่า
เฉลย b. ระยะทาง
14. ลักษณะสำคัญของ routing table ประกอบด้วยอะไรบ้างa. ต้นทาง b. ปลายทางc. ต้นทาง ปลายทาง d. ต้นทาง โปรโตคอล ปลายทาง
เฉลย c. ต้นทาง ปลายทาง
15. OSFP (Open Shortest Path First) เป็นชื่อของa. Algorithm b. Protocolc. Router d. Routing Table
เฉลย b. Protocol
16. ชนิดของเส้นใยแก้วนำแสงที่ใช้รับ – ส่งข้อมูลในระยะทางไกล ๆa. Grade Index Multimode b. Step Index Multimodec. Single Mode d. ถูกทุกข้อ
เฉลย a.Grade Index Multimode
17. แกนกลางที่เป็นใยแก้วนำแสงเรียกว่าอะไรa. Jacket b. Claddingc. Core d. Fiber
เฉลย c. Core
18. แสดงที่เดินทางภายใสเส้นใยนำแสงจะตกกระทบเป็นมุม คือลักษณะของเส้นใยแก้วแบบใดa. Grade Index Multimode b. Step Index Multimodec. Single Mode d. ถูกทุกข้อ
เฉลย a. Grade Index Multimode
19. แสดงที่เดินทางภายในเส้นใยแก้วนำแสงจะเป็นเส้นตรง คือลักษณะของเส้นใยแก้วแบบใดa. Grade Index multimode b. Step Index Multimodec. Single Mode d. ถูกทุกข้อ
เฉลย c. Single Mode
20. ต้นกำเนิดแสง (optical source) ที่มี Power ของแสงเข้มข้นคือa. Laser b. APDc. LED d. PIN-FET
เฉลย d.PIN-FET
21. ข้อใดคือ Fast Etherneta. 10base5 b. 1000baseFXc. 100BaseFL d. 10GbaseTX
เฉลย b. 1000baseFX
22. 10BasF ใช้สายสัญญาณอะไรในการส่งข้อมูลa. UTP b. STPc. Coaxial d. Fiber Optic
เฉลย b. STP
23. ข้อใดไม่ใช่ Ethernet แบบ 1000 mbpsa. 1000BaseT b. 100BaseTXc. 1000BaseX d. 1000BaseFL
เฉลย c.1000BaseX
24. ขนาด Frame ที่เล็กที่สุดของ Gigabit Ethernet คือa. 53 byte b. 64 bytec. 128 byte d. 512 byte
เฉลย d. 512 byte
25. Ethernet ใช้ protocol ใดในการตรวจสอบการส่งข้อมูลa. LLC b. CSMA/CAc. CSMA/CD d. ALOHA
เฉลย b. CSMA/CA
26. Ethernet 10baseT ต่อยาวกี่เมตรสูงสุดa. 80 ม. b. 100 ม.c. 150 ม. d. 185 ม.
เฉลย b. 100 ม.
27. ใครเป็นผู้กำหนดมาตรฐานของ Etherneta. OSI b. IEEEc. ISO d. CCITT
เฉลย b.IEEE
28. 10Base5 ใช้สาย Coaxial แบบใดa. Thin b. Thickc. UTP d. STP
เฉลย b.Thick
29. Fast Ethernet มีความเร็วเท่าใดa. 10 mbps b. 100 mbpsc. 1000 mbps d. 10 Gbps
เฉลย b. 100 mbps
30. 100 Mbps, baseband, long wavelength over optical fiber cable คือ มาตรฐานของa. 1000Base-LX b. 1000Base-FXc. 1000Base-T2 d. 1000Base-T4
เฉลย d.1000Base-T4
31. ATM มีขนาดกี่ไบต์a. 48 ไบต์ b. 53 ไบต์c. 64 ไบต์ d. 128 ไบต์
เฉลย b. 53 ไบต์
32. CSMA พัฒนามาจากa. CSMA/CA b. CSMA/CDc. CSMA d. ALOHA
เฉลย b. CSMA/CD
33. Internet เกิดขึ้นที่ประเทศอะไรa. AU b. JPc. USA d. TH
เฉลย c.USA
34. เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการขนถ่ายข้อมูล หรือ Transport Technologya. SEH b. ATMc. Mobile d. DWDM
เฉลย d. DWDM
35. ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเรียกว่าอะไรa. CS internet b. Operatorc. Admin d. ISP
เฉลย c.Admin
36. การแจกจ่ายหมายเลขไอพีแอดเดรส ให้กับเครื่องลูกโดยอัตโนมัติเรียกว่าอะไรa. DNS b. FTPc. DHCP d. Proxxy
เฉลย b.FTP
37. การถ่ายโอนข้อมูลบนระบบอินเตอร์เน็ตเรียกว่าอะไรa. DNS b. FTPc. DHCP d. Proxxy
เฉลย c. DHCP
38. โปรโตคอลการสื่อการที่เป็น offlinea. ICMP b. TCPc. UDP d. ARP
เฉลย d. ARP
39. การหาเส้นทางการส่งข้อมูลเรียกว่าa. Routing b. Routing Protocolc. RoutingTable d. Routerเฉลย b. Routing Protocol
40. ข้อใดไม่มีในขั้นตอนการทำ server 7 พ.ค. 48a. DHCP b. DNSc. Routing Protocol d. Virtual host
เฉลย b. DNS
41. หมายเลข IP Class ใดรองรับการทำงานของ host ได้สูงสุดa. A b. Bc. C d. D
เฉลย d. D
42. อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างชนิดเข้าด้วยกันคือa. Hub b. Switchingc. Modem d. Routerเฉลย a. Hub43. การ set ค่าความสำคัญสูงสุด (High priority) ของ packet เป็นหน้าที่ของ function ใดต่อไปนี้a. PIFS b. SIFSc. DIFS d. MIB
เฉลย d. MIB
44. การป้องกันการชนกันของการส่งข้อมูลใด WLAN ใช้หลักการใดa. ALOHA b. CSMAc. CSMA/CA d. CSMA/CDเฉลย d. CSMA/CD
45. Data Rate สูงสุดขนาด 54 Mb ที่ส่งได้ใน WLAN ใช้มาตรฐานใดและใช้หลัก mechanism (กลไกการส่ง) แบบใดa. IEEE802.11a ; DSSS b. IEEE802.11b ; FHSSc. IEEE802.11a ; OFDM d. IEEE802.11b ; OFDM
เฉลย c. IEEE802.11a ; OFDM
46. อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ D/A คือa. Hub b. Switchingc. Modem d. Routerเฉลย c. Modem47.อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่บรอดแคสสัญญาณ (Broadcast) คือa. Hub b. Switchingc. Modem d. Router
เฉลย d. Router
48. Mechanism ใดของ WLAN ที่มีการรบกวน (Interference) สูงที่สุดใดa. Diffuse IR b. DSSSc. OFDM d. FHSS
เฉลย b. DSSS
49. CIDR 192.168.0.0/24 จะมีค่า subnet mask เท่าใดa. 225.225.0.0 b. 225.225.128.0c. 225.225.225.0 d. 225.225.225.192
เฉลย d. 225.225.225.192
50. การ Roaming ใช้กับการโอนถ่ายข้อมูลระหว่างa. AP กับ AP b. BSSกับ APc. AP กับ BSS d. BSS กับ BSS
เฉลย c. AP กับ BSS

วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ส่งงานครั้งเเรก

คำอธิบายรายวิชา (Course Description)
ความรู้เบื้องต้นเบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เครือข่าย การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับเทอร์มินอล ชั้นของโปรโตคอลมาตรฐาน OSI รูปแบบต่าง ๆ ของเครือข่าย X.25 เนตเวิร์คและดิจิตอลเนตเวอร์ค การประมวลผลแบบตามลำดับและแบบขนาน การไปป์ไลน์ (Pipelining) การประมวลผลแบบเวคเตอร์ (Vector Processing) การประมวลผลแบบอะเรย์ (Array Processors) มัลติโปรเซสเชอร์ (Multiprocessor) และฟอลท์โทเลอร์แรนซ์ (Fault Tolerance)
e-learning
http://e-learning.tu.ac.th/ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
http://e-learning.mfu.ac.th/ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
http://regelearning.payap.ac.th/ มหาวิทยาลัยพายัพ
http://elearning.utcc.ac.th/lms/main/default.asp มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
http://md.rmutk.ac.th/ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
http://e-learning.kku.ac.th/ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
http://space.kbu.ac.th/el/index.asp มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตhttp://elearning.dusit.ac.th/xedu/Home.aspx มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตhttp://sutonline.sut.ac.th/moodle/mod/resource/view.php?id=7790 มหวิทยาลัยเทคโนดลยีสุรนารีhttp://www.academic.hcu.ac.th/e-learning/e-learning.html มหวิทยาลัยหัวเฉลียวเฉลิมพระเกียรติ
Tpology
การจัดรูปโครงสร้างของอุปกรณ์สื่อสารเพื่อจัดตั้งเป็นระบบเครือข่ายสามารถกระทำได้หลายแบบดังนี้1. ระบบเครือข่ายที่แบ่งประเภทโดยพิจารณาจากการจัดโครงสร้างอุปกรณ์เป็นหลัก เรียกว่า การจัดรูปทรงระบบเครือข่าย (Topology) ได้แก่ ระบบเครือข่ายแบบดาว แบบบัส และแบบวงแหวน เป็นต้น 2. ระบบเครือข่ายตามขนาดทางกายภาพของระยะทางในการส่งข้อมูลเป็นหลัก ได้แก่ เครือข่ายเฉพาะบริเวณ (LAN) เครือข่ายในเขตเมือง (MAN) เครือข่ายวงกว้าง (WAN) และเครือข่ายสหภาค (Internetwork)3. ระบบเครือข่ายที่พิจารณาจากขอบเขตการใช้งานขององค์กร เช่น เครือข่ายอินทราเนต (Intranet) เครือข่ายเอ็กซ์ทราเนต( Extranet) และเครือข่ายสากล (Internet)การจัดรูปทรงระบบเครือข่าย (Topology)วิธีการอธิบายระบบเครือข่ายแบบหนึ่งคือการพิจารณาจากรูปทรงของระบบเครือข่ายดังรูปที่ 2.13 , 2.14 และ 2.15 คือระบบเครือข่ายแบบดาว แบบบัส และแบบวงแหวน ตามลำดับระบบเครือข่ายแบบดาว (Star Topology)ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง เรียกว่า โฮสต์ (Host) หรือ เซิฟเวอร์ (Server) ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นแลอุปกรณ์ที่เหลือ ระบบนี้เหมาะกับการประมวลผลที่ศูนย์กลางและส่วนหนึ่งทำการประมวลผลที่เครื่องผู้ใช้ (Client or Work Station) ระบบนี้มีจุดอ่อนอยู่ที่เครื่อง Host คือ การสื่อสารทั้งหมดจะต้องถูกส่งผ่านเครื่อง Host ระบบจะล้มเหลวทันทีถ้าเครื่อง Host หยุดทำงานภาพที่ 2.11 : เครือข่ายแบบดาว ( star )ระบบเครือข่ายแบบบัส (Bus Toplogy)เป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ทั้งหมดด้วยสายสื่อสารเพียงเส้นเดียว อาจใช้สายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเซียล หรือสายใยแก้วนำแสงก็ได้ สัญญาณที่ถูกส่งออกมาจากอุปกรณ์ตัวใดก็ตามจะเป็นลักษณะการกระจายข่าว (Broadcasting) โดยไม่มีอุปกรณ์ตัวใดเป็นตัวควบคุมระบบเลย แต่อาศัยซอฟท์แวร์ที่ติดตั้งในอุปกรณ์แต่ละตัวทำหน้าที่ควบคุมการสื่อสาร ในระบบบัสนี้จะมีอุปกรณ์เพียงตัวเดียวที่สามารถส่งสัญญาณออกมา อุปกรณ์ตัวอื่นที่ต้องการส่งสัญญาณจะต้องหยุดรอจนกว่าในระบบจะไม่มีผู้ใดส่งสัญญาณออกมาจึงจะส่งสัญญาณของตนออกมาได้ ถ้าหากส่งออกมาพร้อมกันจะเกิดปัญหาสัญญาณชนกัน (Collision) ทำให้สัญญาณเกิดความเสียหายใช้การไม่ได้ และระบบนี้จะมีประสิทธิภาพต่ำถ้ามีอุปกรณ์เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมากระบบเครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Topology)ระบบเครือข่ายวงแหวนจะมีลักษณะคล้ายเครือข่ายบัสที่เอาปลายมาต่อกัน โดยไม่มีอุปกรณ์ใดเป็นตัวควบคุมการสื่อสารของระบบเลย และข้อมูลในวงแหวนจะเดินไปในทิศทางเดียวกันเสมอภาพที่ 2.13 : ภาพระบบเครือข่ายแบบวงแหวน ( Ring )ระบบเครือข่ายตามขนาดทางกายภาพของระยะทางในการส่งข้อมูลระบบเครือข่ายในลักษณะนี้ ได้ให้คำจำกัดความจากตำแหน่งที่ตั้งและขอบเขตวงกว้างของการใช้งาน ซึ่งแบ่งได้หลายอาณาเขต1. เครือข่ายเฉพาะบริเวณ (Local Area Networks) หรือเครือข่ายระบบแลน (LAN)2. เครือข่ายในเขตเมือง (Metropolitan Area Networks) หรือเครือข่ายระบบแมน (MAN)3. เครือข่ายวงกว้าง (Wide Area Networks) หรือเครือข่ายแวน (WAN)เครือข่ายเฉพาะบริเวณ (LAN)มีขอบเขตการทำงานแคบ มักอยู่ในอาคาร ออฟฟิศ สำนักงาน หรือหลายอาคารที่อยู่ติดกัน ไม่เกิน 2,000 ฟุต ระบบ LAN ได้รับความนิยมมากในการเชื่อมต่ออุปกรณ์สำนักงานเข้าด้วยกัน โดยมีสายนำสัญญาณการสื่อสารที่เป็นของตนเอง โดยใช้ Topology แบบบัส หรือวงแหวนและมีช่องสื่อสารที่กว้าง เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สำนักงาน อุปกรณ์ระบบแสดงผล พิมพ์งาน และการรับส่งข้อมูลข่าวสารในสำนักงานทำงานร่วมกันได้ถ้าหากการใช้งานในบางจุดของสำนักงานไม่สามารถเดินสายเคเบิลได้ หรือมีข้อจำกัดด้านการติดตั้งและลงทุนเช่น การต่อสาย LAN ข้ามตึก หรือระหว่างชั้นสำนักงาน ก็สามารถประยุกต์ใช้ระบบ LAN ไร้สาย ตามที่กล่าวไปแล้วได้ รูปที่ 2.17 แสดงถึงการต่อวง LAN วงหนึ่งในลักษณะ Ring มักมีเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งทำหน้าที่เป็น Host หรือ เซิฟเวอร์ (Server) ซึ่งคล้ายกับบรรณารักษ์ คอยจัดเก็บโปรแกรมและฐานข้อมูล และควบคุมการเข้าใช้ของ User แต่ละคน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็น Server นี้มักมีหน่วยความจำใหญ่และมีหน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าพีซีปกติ ความสามารถในการทำงานของระบบแลนถูกกำหนดโดย ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System ; NOS ) ที่ติดตั้งอยู่ที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องหรืออาจอยู่ที่เครื่อง Server เพียงเครื่องเดียว ระบบปฏิบัติการจะทำหน้าที่ในการ กำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลในเครือข่ายและจัดการบริหารการสื่อสารตลอดจนควบคุมการใช้งานทรัพยากรทั้งหมดในเครือข่าย ตัวอย่างซอฟท์แวร์ที่นิยมใช้ ได้แก่ Novell Netware , Microsoft Windows 2000 Server , IBM’s OS/2 Warp Server เป็นต้น ซึ่งซอฟท์แวร์ประยุกต์ที่ใช้บนระบบเครือข่าย LAN ในปัจจุบันมักนิยมทำงานในแบบ ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ (Client / Server System) โดยที่เครื่องผู้ให้บริการจะเป็นผู้จัดเตรียมข้อมูลและโปรแกรมให้ผู้ใช้บริการ ระบบเครือข่ายในเขตเมือง (MAN)โดยพื้นฐานแล้วระบบเครือข่ายในเขตเมือง (Metropolitan Area Network) มีลักษณะคล้ายกับระบบ LAN แต่มีอาณาเขตที่ไกลกว่าในระดับเขตเมืองเดียวกัน หรือหลายเมืองที่อยู่ติดกันก็ได้ ซึ่งอาจเป็นการให้บริการของเอกชนหรือรัฐก็ได้ เป็นการบริการเฉพาะหน่วยงาน มีขีดความสามารถในการให้บริการทั้งรับและส่งข้อมูล ทั้งภาพและเสียง เช่นการให้บริการระบบโทรทัศน์ทางสาย (Cable TV)ระบบเครือข่ายวงกว้าง (WAN)เป็นระบบที่มีขอบเขตการใช้งานกว้างกว่า ไกลกว่าระบบแลน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นระบบที่ไร้ขอบเขตแล้ว เช่นระบบการสื่อสารข้อมูลผ่านดาวเทียมของสถานีโทรทัศน์ต่างๆ แต่การที่จะเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีระยะห่างกันมากๆให้เป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งหมดนั้นจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายสาธารณะ (Public Networks) ที่ให้บริการการสื่อสาร โดยเชื่อมต่อผ่านโมเด็ม ผ่าน เครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะ (Public Switching Telephone Network ; PSTN) ซึ่งมีทั้งลักษณะต่อโมเด็มแบบที่ต้องมีการติดต่อก่อน (Dial-up) หรือต่อตายตัวแบบสายเช่า (Lease Line)ระบบเครือข่ายที่พิจารณาจากขอบเขตการใช้งานขององค์กรระบบอินทราเนต (Intranet) ในปัจจุบันบางองค์กรได้จำลองลักษณะของอินเตอร์เนตมาเป็นเครือข่ายภายในและใช้งานโดยบุคคลากรของบริษัท ผู้คนในบริษัทจะทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อกันในองค์กรเฉพาะเครือข่ายของบริษัทตนเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องใดๆกับองค์กรอื่นภายนอก ทั้งที่อยู่ในสำนักงานเดียวกันหรือต่างสาขาก็ได้ หรือจะอยู่คนละภูมิประเทศก็ได้ สามารถสื่อสารกัน (Interfacing) ได้โดยการใช้ Web Browser เขียนเป็น Home Pages เหมือนอินเตอร์เนตโดยทั่วไป ด้วยกราฟฟิก ภาพ ข้อความ เสียง และมี Function ต่างๆ เช่น Web-board การ Log-in การเปิดหน้าต่าง Browser ด้วยวิธีการคลิ๊กทีละ Page นำเสนอข้อมูลที่สวยงาม ง่ายต่อการเข้าใจ มีระบบจดหมายอีเลกทรอนิกส์ มี Account ให้พนักงานแต่ละคนใช้ส่วนตัว มีระบบโต้ตอบและสนทนาได้อัตโนมัติ ตัวอย่างของระบบอินทราเนต ที่นิยมใช้กันมาก ได้แก่ ระบบซอฟท์แวร์ Lotus-Note ของบริษัท IBMข้อดีของอินทราเนตที่องค์กรต่างๆนิยมใช้เพราะ เป็นส่วนตัว (Privacy) ในระดับองค์กร คาวมเร็วในการส่งผ่านข้อมูลที่จำเป็นเฉพาะองค์กร การป้องกันการรั่วไหลของความลับองค์กร แต่ในขณะเดียวกันระบบอินทราเนตสามารถเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เนตภายนอกได้ทันที เพราะอาศัย Protocol มาตรฐาน TCP/IP เหมือนกันระบบเอ็กทราเนต (Extranet) เป็นอีกลักษณะของระบบเครือข่ายที่เป็นระบบสารสนเทศระหว่างองค์กร (Inter-Organization ; I-OIS) ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างองค์กรที่มีความสัมพันธ์กัน ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ติดต่อธุรกรรมกันเป็นประจำ ระหว่างพนักงาน บริษัทคู่ค้า บริษัทลูกค้า หรือบริษัทที่เป็นพันธมิตรกันระบบเอ็กทราเนตจะอาศัยโครงสร้างของอินทราเนตและอินเตอร์เนตในการทำงานสื่อสารระหว่างองค์กร แต่อาจอาศัยเครือข่ายเฉพาะส่วนบุคคล (Virtual private Networks ; VPN) ซึ่งจะต้องมีการเข้ารหัสต่างๆ เพื่อขออนุญาตเข้าใช้เครือข่าย มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในองค์กรระหว่างกัน ปัจจุบันนิยมมากในกลุ่มธุรกิจที่มีลักษณะเป็นพันธมิตรทางการค้า (Alliance) ที่ต้องอาศัยข้อมูลของบริษัทร่วมกัน (Collaboration Commerce ; C-Commerce) เช่น ข้อมูลสต็อกสินค้า ข้อมูลลูกค้า และมีฟังก์ชั่นการทำงานในลักษณะโต้ตอบ สนทนา แบบ Real timeระบบอินเตอร์เนต (Internet) เป็นระบบที่รู้จักกันดีและใช้งานกันอยู่เป็นประจำ เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน เชื่อมโยงศูนย์คอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าไว้เป็นระบบเดียว จึงเป็นระบบสื่อสารที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และมีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก เพราะมีประโยชน์ในวงการต่างๆ มากมายอินเตอร์เนตที่ทั่วโลกสามารถเชื่อมต่อกันได้เพราะมีมาตรฐานหรือโปรโตคอลที่ชื่อว่าTCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) ซึ่งสามารถเชื่อมโยงได้โดยผ่านผู้ให้บริการอินเตอร์เนตเชิงพาณิชย์ (Internet Service Provider ; ISP ) ซึ่งจะทำหน้าที่ให้บริการเสมือนศูนย์กลางการสื่อสารคอยติดต่อประสานงานกับวงอินเตอร์เนตอื่นๆทั่วโลก เสมือนสำนักงานไปรษณีย์ที่คอยส่งจดหมายไปตามที่อยู่ (IP Address) ของผู้รับ ผู้ให้บริการอินเตอร์เนตในประเทศไทยปัจจุบันได้แก่ Loxinfo , CS Communication , Internet KSC , AsiaNet , Telecomasiaหรือแม้แต่องค์การโทรศัพท์หรือ ทศท.คอร์เปอเรชั่น จำกัด ในปัจจุบันก็หันมาทำธุรกิจให้บริการอินเตอร์เนตด้วยIP Address หรือบ้านเลขที่บนอินเตอร์เนต ถ้าเปรียบอินเตอร์เนตเป็นเมืองขนาดใหญ่ และเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเป็นบ้านที่มีถนนเชื่อมถึงกัน เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นย่อมต้องมีเลขที่บ้านเพื่อให้รู้ตำแหน่งกันโดยไม่ซ้ำกับเครื่องใดในโลก IP Address ประกอบไปด้วยตัวเลข 4 ชุด ต่อกัน โดยมีจุดเป็นสัญญลักษณ์แบ่งตัวเลข แต่ละชุดมีค่าตั้งแต่ 0 – 255 โดยสามารถทำการขอเลข IP ได้จากหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตจาก InterNIC (Internet Network Information Center) เช่นผู้ให้บริการอินเตอร์เนตทั่วไป Internet Address คงไม่มีใครอยากจะจดจำ IP Address เพราะเป็นชุดตัวเลขที่ยาวมากไม่สะดวกต่อการจดจำและเรียกใช้ลำบาก จึงมีการกำหนดชื่อเรียกขึ้นมาแทน IP Address เหมือนการจดทะเบียนการค้า มีเลขทะเบียนการค้าแล้ว แต่ต้องจดทะเบียนชื่อห้างร้านด้วย Internet Address อยู่ในรูปของตัวอักษร นิยมตั้งให้จำได้ โดยมากใช้ชื่อองค์กรหรือชื่อที่มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาหรือวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือบุคคลเจ้าของ Website นั้นๆ โดยมีตัวย่อหลังเครื่องหมายจุดในอินเตอร์เนตแอดเดรสเป็นตัวระบุความแตกต่างกันของขนิดองค์กร ที่พบบ่อยๆ ได้แก่ส่วนอินเตอร์เนตแอดเดรสในประเทศไทย มักมี .th ตามต่อท้ายเพื่อให้ทราบว่ามี IP อยู่ในประเทศไทยเป็นการกำหนดตำแหน่งประเทศที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ ตั้งอยู่ เช่น co.th , ac.th , go.th , or.th เป็นต้นบริการต่างๆในอินเตอร์เนต ตัวอินเตอร์เนตเอง คือระบบที่สร้างขึ้นเพื่อการเชื่อมต่อข้อมูลแต่ข้อมูลที่จะเชื่อมต่อกันบนอินเตอร์เนตอาจอยู่ในรูปแบบใดๆก็ได้ ขึ้นกับความต้องการผู้ใช้ โดยมากที่เราพบเห็นจะอยู่ในรูปแบบ www (World Wide Web หรือที่เรารู้จักกันว่า Web site) แต่อินเตอร์เนตมีรูปแบบที่ให้บริการต่างๆได้มากมาย อาทิ
1. เครือข่ายใยพิภพ (เครือข่ายใยแมงมุม) World Wide Web ประกอบไปด้วย Website ต่างๆมากมายบนโลก
2. บริการจดหมายอีเล็กทรอนิกส์ (e-Mail) ที่มีชื่อเสียงที่เรารู้จักก็คือ โปรแกรม OutLook หรือบริการ e-mail บนเว็บยอดฮิตก็ Hotmail ที่รูจักกันดี
3. บริการโอนย้ายไฟล์ (File Transfer Protocol ; FTP) บริการให้ Up – Down load แฟ้มข้อมูลต่างๆ
4. Usenet บอร์ดข่าวสารบนอินเตอร์เนต
5. ระบบการสนทนาโต้ตอบแบบทันที (Internet Relay Chat ; IRC)
6. Internet Phone หรือ Voice Mail ที่สามารถใช้เสียงพูดคุยผ่านอินเตอร์เนต (VoiceOverIP)
7. การให้บริการแฟกซ์ผ่านอินเตอร์เนต (Internet Fax)
8. การให้บริการภาพและเสียงผ่านอินเตอร์เนต (Streaming audio and video)

วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2551

วันที่ 26 สิงหาคม 51 เรื่องเส้นใยแก้วนำแสง



ชนิดของเส้นใยแก้วนำแสง

ภายเส้นใยแก้วนำแสงนั้นจำนวนลำแสงที่เดินทางหรือเกิดขึ้น จะเป็นตัวบอกโหมดของแสงที่เดินทางภายในเส้นใยแก้วนำแสงนั้น กล่าวคือถ้ามีแนวเส้นลำแสงอยู่แนวเดียวกันเรียกว่าเส้นใยแก้วนำ แสงโหมดเดียว ( Single Mode Fiber ) แต่ภายในเส้นใยแก้วนำแสงนั้นมีแนวลำแสงอยู่เป็นจำนวนมาก เรียกว่าสันใยแก้วนำแสงหลายโหมด ( Multimode Fiber ) ดูรูปนอกจากแบ่งชนิดใยแก้วนำ แสงตามลักษณะของโหมดแล้วก็ยังมีวิธีอื่นที่แบ่งโดยจากวัสดุที่ทำเช่น เส้นใยที่ทำจากแก้ว พลาสติก หรือโพลิเมอร์ และก็สามารถแบ่งได้ตามลักษณะและรูปร่าง ลักษณะของดัชนีหักเห เช่น ใย ขั้นบันได ( Step Index ) หรือดีชะนีรูปมน ( Graded Index ) เป็นต้น

เส้นใยแก้วนำแสงโหมดเดียว

เส้นใยแก้วนำแสงโหมดเดียวมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของแกนและแคลดประมาณ 5-10 และ 125 ไมคอน ตามลำดับ ซึ่งส่วนของแกนมีขนาดเล็กกว่าเส้นใยแก้วนำแสงชนิดหลายโหมดมาก แลให้ แสงออกมาเพียงโหมดเดียว ลักษณะหน้าตัดของเส้นใยแก้วนำแสงโหมดเดียวแสดงไว้

เส้นใยแก้วนำแสงหลายโหมด

โครงสร้างภายในเส้นใยแก้วนำแสง ซึ่งประกอบด้วยแกนและแคลดดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้นสำหรับเส้นใยแก้วหลายโหมดส่วนใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางของแกนแคลดประมาณ 50 ไมคอน และ 125 ตามลับ เนื่องจากขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางของแกนของเส้นใยแก้วนำแสง หลายโหมดนั้นมีขนาดใหญ่ดังนั้น แสงที่ตกกระทบที่ปลายอินพุตของเส้นใยแก้วนำแสงมีมุมตกกระทบที่แตกต่างกัน หลายค่า จากหลักการสะท้อนกลับหมดของแสงที่เกิดขึ้นภายในส่วนของ แกนทำให้มีแนวลำแสงเกิดขึ้นหลายโหมด และแสงแต่ละโหมดใช้เวลาเดินทางโดยใช้ระยะเวลาเดินทางที่แตกต่างกัน อันเป็นเหตุให้เกิดการแตกกระจายของโหมดแสง ( Mode Dispersion ) หรือของสัญญาณที่ได้รับได้เนื่องจากความแตกต่างของเวลา จึงได้มีการพัฒนาจะลดการแตกกระจายของสัญญาณซึ่ง เกิดขึ้นจากเส้นใยแก้วนำแสงหลายโหมดด้วนการ ปรับปรุงลักษณะดัชนีการหลักเหของแสงของแกน

โครงสร้างของใยแก้วนำแสง

ส่วนประกอบของใยแก้วนำแสงประกอบด้วยส่วนสำคัญ คือส่วนที่เป็นแกนอยู่ตรงกลางหรือชั้นในที่หุ้มด้วยส่วนที่เป็นแคลด แล้วถูกหุ้มด้วยส่วนที่ป้องกัน ( Coating ) โยที่แต่ละส่วนนั้นทำด้วย วัสดุที่มีค่าดัชนีหักเหของแสงที่มีค่าแตกต่างกัน ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงค่าหลักการหักเหและสะท้อนกลับมาหมดของแสงดังที่ได้กล่าวไปแล้ว

แกน : เป็นส่วนตรงกลางของเส้นใยแก้วนำแสง และเป็นส่วนนำแสง โดยดัชนีหักเหของแสงส่วนนี้ต้องมากกว่าของส่วนแคลดแล้ว ลำแสงที่ไปในแกนจะถูกขังหรือเคลื่อนที่ไปตามเส้นใยแก้วนำ แสงด้วยขบวนการสะท้อนกลับหมดภายใน

ส่วนป้องกัน : เป็นชั้นที่ต่อมาจากแคลดเป็นที่กันแสงจากภายนอกเข้าเส้นใยแก้วนำแสง และกันแสงจากเส้นใยแก้วนำแสงออกข้างนอก และยังใช้ประโยชน์เมื่อมีการเชื่อมต่อเส้นใยแก้วนำแสง โครงสร้างอาจประกอบไปด้วยชั้นของพลาสติกหลายๆชั้น นอกจากนั้นส่วนป้องกันยังทำหน้าที่เป็นตัวป้องกันการกระทำจากแรงภายนอกอีกด้วย ตัวอย่างของค่าดัชนีหักเหเช่น แกนมีค่าดัชนีหัก เหประมาณ 1.48 ส่วนของแคลดและส่วนป้องกันซึ่งทำหน้าที่ป้องกันแสงจากแกนออกภายนอก และป้องกันแสงภายนอกลบกวนจะมีค่าดัชนีหักเหเป็น 1.46 และ 1.52 ตามลำดับ

สายเคเบิลเส้นใยแก้วนำแสง

ใยแก้วนำแสงนั้นมีกระบวนการผลิตหลายวิธี ซึ่งจะแตกต่างกันที่วิธีทำแท่งพรีฟอร์มหลังจาก ได้แท่งพรีฟอร์มแล้วก็จะนำมาดึงเป็นใยแก้วนำแสงขนาดและประเภทต่างๆ พร้อมทั้งทำการป้องกัน เพื่อทำเป็นเคเบิลตามลักษณะของการใช้งานต่างๆ เช่น สายเคเบิลกับงานเดินสายใต้ดิน สายอากาศใต้น้ำ สายในอาคาร และงานหระว่างอาคาร เป็นต้น ดูดังรูปที่ 6 จะเป็นตัวอย่างเคเบิลใยแก้ว นำแสง ซึ่งเป็นลักษณะทั่วๆไปเท่านั้น สำหรับการใช้งานในปัจจุบันนั้นมีเคเบิลมากมายหลายชนิดแล้วแต่ความต้องการใช้งานเป็นสำคัญ


ระบบสื่อสารใยแก้วนำแสง

ระบบอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าเป็นสัญญาณแสงนั้น ทำได้โดยใช้อุปกรณ์ทางแสงได้แก่ แหล่งกำเนิดแสง ( Light Source ) ซึ่งปกติใช้อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำชนิด ไดโอดเปล่งแสง ( LED ) หรือไดโอดเลเซอร์ ( LD ) ส่วนอุปกรณ์ที่เปลี่ยนแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้านั้นทำได้โดยใช้ไดโอดแสง( Photodiode ) หรือทรานซิสเตอร์แสง ( Photo Transistor ) นอกจากกรณีของสายส่ง ยาวมากอาจต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ทวนสัญญาณ ( Repeater ) ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้า แล้วเปลี่ยนกับมาเป็นแสงอีกครั้งและส่งกลับไปในเส้นใยแก้วนำแสง

การผสมและแยกสัญญาณ

การผสมสัญญาณ ( Modulation ) ของสื่อสารนั้น หมายถึงการทำให้ความถี่ของการสั่นในการส่งเปลี่ยนแปลงไปตามสัญญาณข่าวสาร สำหรับการสื่อสารใยแก้วนำแสงนั้นความถี่ ( หรือความยาว คลื่น ) ของแสงที่ปล่อยออก มาจากอุปกรณ์กำเนิดแสงที่ไม่มีค่าคงที่ ดังนั้นความหมายของการผสมสัญญาณ จึงแตกต่างกับการสื่อสารทางไฟฟ้า ถ้าหากสามารถทำให้แสงเป็นแสงอาพันธ์ ( Coherence Light ) ที่สมบูรณ์นั้นคือความถี่คงที่ และสามารถเปลี่ยนความถี่แสง ให้อยู่ในย่านความถี่ไมโครเวฟได้ ก็ทำให้การสื่อสารใยแก้วนำแสงมีการผสมคลื่นต่างๆ เหมือนกับการสื่อสารทาง ไฟฟ้า ดังนั้นจงกล่าวไว้ว่าการผสมคลื่นแสงนั้นเป็นเพียง การผสมความเข้มแสง ( Intensity Modulation ) เท่านั้น ดูรูป ประกอบ

การผสมสัญญาณและการส่ง

ปกติสัญญาณแสงทางด้านรับของระบบสื่อสารนั้นสัญญาณจะอ่อนกำลังลง และบางครั้งอาจจะเกิดความผิดพลาดเนื่องจากการส่งผ่านไปใยแก้วนำแสง เมื่ออุปกรณ์รับแสงทำการแปลงสัญญาณแสง ให้ได้สัญญาณไฟฟ้าที่ออกมาเป็นรูปของสัญญาณเดิมที่สัญญาณพื้นฐาน ( Baseband ) และเป็นไปตามรูปร่างของกรอบคลื่น ( Envelope ) ของสัญญาณที่เกิดจากการรวมกับคลื่นพาห์ทางแสง สัญญาณนี้จะผ่านขั้นตอนทางไฟฟ้าเพื่อทำการขยายสัญญาณ และได้สัญญาณที่เครื่องรับปลายทางเหมือนกับต้นกำเนิดข่าวสารทุกประการ ในอนาคตเราสามารถทำให้แสงที่เป็นแสงอาพันธ์อย่าง สมบูรณ์ก็จะสมารถใช้กับวิธีการผสมที่ทำให้ ความถี่ของต้นกำเนิดแสงเปลี่ยนแปลงไปตามสัญญาณนั้น คือใช้วิธีผสมคลื่นที่มีประสิทธิภาพดีได้และทำนองเดียวกันกับทางด้านรับแสงก็สามารถใช้ แยกสัญญาณที่เรียกว่าเทคนิคทางด้านความถี่ ( Heterodyne Detection ) เป็นส่วนการรับสัญญาณปลายทาง

การส่งสัญาณแบบดิจิตอลและอนาล็อก

การส่งสัญญาณโดยทั่วไปนั้นมีสองแบบคือ การส่งสัญญาณแบบดิจิตอล ( Digital ) และแอ นะล็อก ( Analog ) การสื่อสารด้วยแสงนั้นมีการส่งสัญญาณอยู่สองชนิดนี้เช่นกัน ซึ่งขึ้นอยู่ กับสัญญาณไฟฟ้าที่มาผสมกับแสงว่าเป็นสัญญาณดิจิตอลหรือแอนะล็อกเท่านั้น การส่ง สัญญาณแบบดิจิตอลโดยทั่วไปแล้วจะนำมาเปลี่ยนรหัส ( Code ) ที่เหมาะแก่การส่งก่อน แล้วจึงส่งออกไปเช่นเดียวกับการส่งสัญญาณแบบแอนะล็อก นั้นคือก่อนที่จะทำการ เปลี่ยนแปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณแสงนั้น จะทำการผสมสัญญาณขั้นแรกกับ แหล่งกำเนิดแสงก่อน ทั้งนี้ก็เพราะว่าแสงเอาต์พุตของอุปกรกำเนิดแสงนั้นไม่เป็นสัดส่วน กับระดับสัญญาณไฟฟ้าอินพุตเสมอไป ซึ่งทำให้เกิดความยุงยากในการรักษาคุณสมบัติ ของการส่งเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวจึงต้องทำการผสมสัญญาณเบื้องต้นก่อน การเลือกระบบ การส่งสัญญาณทั้งสองชนิดนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการทำงาน การเลื่อระบบการส่ง แบบแอนะล็อกมักใช้กับการส่งสัญญาณภาพในข่าย ( Networks ) หรืเคเบิ้ลทีวี แต่ใน อนาคตการส่งแบบดิจิตอลที่มีคุณสมบัติดีกว่าจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกๆ ด้าน

อุปกรณ์แหล่งกำเนิดแสง

แหล่งกำเนิดแสงที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ ไดโอดเปล่งแสงชนิดสารกึ่งตัวนำและไดโอดเลเซอร์ เพราะไดโอดเหล่านี้เปล่งแสงที่มีความยาวคลื่นย่าน 0.8-0.9 และ 1.3-1.6 ไมครอน ซึ่งตรงกับย่านที่ใย แก้วนำแสงมีค่าสูญเสียต่ำแลสามารถควบคุมกำลังขาออกได้อย่างรวดเร็ว โดยการปรับค่ากระแสไบแอส ( Bias Current ) จึงง่ายต่อการผสมสัญญาณ อีกทั้งอายุใช้งานมากกว่าหนึ่งล้านชั่วโมง ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง LED และ LD คือ LD มีมุมการเปล่งแสงที่แคบกว่าแต่มีความกว้างของสเปกตรัมมากกว่า ( Spectrum Width ) จึงนิยมใช้กับการส่งสัญญาณแบบโคฮีเรนท์ ( Coherent Transmission ) นอกจากนี้ยังเปล่งแสงเมื่อมีการต่อกระแสขับดัน ( Drive Current ) ได้เร็วกว่า แต่เนื่องจาก LD เป็นอุปกรณ์เทรชส์โฮลด์ ( Threshold Device ) การเปล่งแสงจึงไม่คงที่ และเป็นสัดส่วนโดยตรงกับกระแส จึงต้องมีวงจรควบคุมแบบป้อนกลับ ( Feedback ) เพื่อทำให้กำลังขาออกของเลเซอร์คงที่

อุปกรณ์รับแสง

อุปกรณ์รับแสงที่นิยมใช้เป็นประเภทสารกึ่งตัวนำแบ่งออกเป็นพวกใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภทตามแรงดันไฟฟ้าที่ป้อนให้จากภายนอกคือ
โฟโต้ไดโอด ( Photodiode, PD ) เป็นพวกที่ได้รับการป้อนแรงดันไฟฟ้าปริมาณน้อย ตัวอย่างเช่น ( PIN-PD )เป็นต้น
อะวาลานช์โฟโต้ไอโอด ( Avalanche Photodiode, APD )เป็นพวกที่ได้รับการป้อนปริมาณแรงดันไฟฟ้าปริมาณมาก การเลือกใช้อุปกรณ์รับแสงแบบ PIN หรือ APD นั้น ตามปกติจะขึ้นอยู่กับราคา และความไวของเครื่องรับที่ต้องการ ( Receiver Sensitivity ) กระบวนการอะวาลานช์ใน APD มีเทรชส์โฮลด์ซึ่งทำให้มีราคาแพงกว่า PIN เนื่องจาก APD มีการขยายกำลังได้สูงจึงจะทำให้ความ ไวของเครื่องรับได้ถึงปริมาณ -15 dB ซึ่งมากกว่า ไดโอด PIN นอกจากนี้ยังพิจารณาถึงระดับสัญญาณระดับต่ำสุดที่จะรับได้ด้วย

คุณสมบัติใยแก้วนำแสง

การลดทอน
กำลังของแสงจากแหล่งกำเนิดแสง ( Pi ) ถูกส่งเข้าไปใยเส้นใยแก้วนำแสงยาว L กิโลเมตรแล้วกำลังของแสงที่ออกจากเส้นใยแก้วนำแสง ( Po ) เมื่อพิจารณาที่ ( Po

การดูดกลืนของวัสดุ

พิจารณาการดูดกลืนในใยแก้วซิลิกาที่บริสุทธิ์ จะเห็นว่าแก้วซิลิกาที่บริสุทธิ์จะ ดูดกลืนแสงน้อย และจะเห็นว่าอยู่ในช่วงความยาวคลื่นระหว่าง 0.8 ถึง 1.6 ไมครอน จึง เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ในช่วงความยาวคลื่นดังกล่าวถูกเลือกใช้งานทางด้านสื่อสาร การ ดูดกลืนแบบนี้จะมีค่ามากบริเวณความยาวคลื่นในช่วงของอัลตราไวโอเลต ( Ultraviolet, UV ) และอินฟราเรด ( Infrared, IR )


การดูดกลืนจากภายนอก

โอเวอร์โทนจะได้จุดยอดที่ 1.24 1.13 และ 0.88 การลดทอนของแสงที่เกิดจาก การดูดกลืนของแสงนี้เกิดจากการที่ใช้สาร ผลิตเส้นใยแก้วนำแสงหรืแก้วที่มีสารอื่นเจือปนอยู่ทำให้เกิดการดูดกลืน ของแสงขึ้น โดยทั่วไปจะมีการดูดแสงอันเนื่องมาจากแก้วและสารเจือปน ตัวอย่างเช่น กรณีที่มีสารเจือปนอยู่ 1 ในล้านส่วนก็จะทำให้เกิดการดูดกลืน
เทคนิคการผลิตเส้นใยแก้วนำแสงสมัยใหม่สามารถ ลดอิออนของสารเจือปนพวกนี้ได้จนถึง ระดับไม่มีผลต่อการดูดกลืนได้ อย่างไรก็ตามอิออนตัวหนึ่งที่สามารถขจัดได้คือ ไฮดรอกซิล ( Hydroxyl,OH ) จุดยอดของการสั่นพื้นฐานของอิออนไฮดรอกซิล จะเกิดที่ความยาวคลื่นประมาณ2.27 ไมครอน และพื้นฐานการสั่นประมาณ 4.2 ไมครอน ซึ่งการสั่นพื้นฐาน จะทำให้เกิดโอเวอร์โทน ( Overtone ) ที่ฮาร์มอนิกต่างๆ ดังนี้ 1.38 0.95 และ0.72 ไมครอน และเมื่อรวมระหร่างการสั่น พื้นฐานและไมครอนตามลำดับ

การเดินทางของแสงในใยแก้วนำแสง

แสงสามารถแพร่กระจายเข้าไปในใยแก้วได้ โดยการสะท้อนหรือการหักเหแสง กล่าวคือแสงจะแพร่กระจายอย่างไร ขึ้นอยู่กับการแพร่กระจายและรูปแบบของดัชนีการหักเห โหมดของการ แพร่กระจายหรือโหมด หมายถึงทางเดิน ( Path ) ของแสงนั้นเอง ถ้าทางเดินของแสงมีเพียงทางเดียว ที่ทำให้แสงแพร่กระจายเข้าไปในใยแก้วนำแสงได้เรียกโหมดเดียว ( Single Mode ) ถ้า ทางเดินของแสงมีหลายทางๆ เรียกว่า มัลติโหมด ( Multimode ) หรืหลายโหมด แสดงการกระจายของแสงเข้าไปใน ใยแก้วแสงแบบโหมดเดียวและแบบหลายโหมด

อินเดกซ์โปรไฟล์

อินเดกซ์โปรไฟล์ ( Index Profile ) ของแสงในใยแก้วนำแสงคือกราฟของความสัมพันธ์กับ ดัชนีหักเหของแกนของเส้นใยแก้วนำแสง โดยที่ดัชนีหักเหถูกเขียนบนแกนนอนและ ระยะห่างจากแกน ของเส้นใยแก้วนำแสงอยู่ในแนวตั้ง อินเดกซ์โปรไฟล์ของใยแก้วทั้งสามชนิด โดยทั่ว๐ไปใยแก้วนำแสงจะมีอินเดกโปรซ์ไฟล์ 2 ประเภทคือ แบบสเตปและเกรดอินเดกซ์ หรือแบบขั้นบันได และ แบบบน โดยที่แบสเตปอินเดกซ์จะมีดัชนีหักเหของแสงคงที่ตลอด เนื้อสารที่เป็นแกนและแคลด โดยปกติค่าดัชนีหักเหที่แกนจะมีค่ามากกว่าที่แคลด แนวทางเดินของแสงจะมีลักษณะเป็น เส้นตรงสะท้อนไปมาตรงบริเวณรอยต่อ ระหว่างแกนและแคลดตามกฎของสเนลล์ ส่วนเส้นใยแก้วนำแสงแบบอินเดกซ์จะมี ดัชนีการหักเหของแกนเปลี่ยนแปลงไปตามแนวแกนของใยแก้ว โดย ที่ตำแหน่งของศูนย์กลางของใยแก้วจะ มีค่าดัชนีหักเหสูงสุดจากนั้นค่าดัชนีหักเหจะค่อยๆ ลดลงไปตามระยะที่ห่างออกจากแนวศูนย์กลาง จนมีค่าเท่ากับดัชนีหักเหของแคลดในตำแหน่งที่แกน ต่อกับแคลดพอดี โครงสร้างของเส้นใยแก้วนำแสงโดนทั่วๆ แบ่งแบ่งออกเป็นประเภท ตามโครงสร้างได้ 3 ประเภท คือ โหมดเดียว หลายโหมดสเตปอินเดกซ์ และหลายโหมดเกรดอินเดกซ์

ประโยชน์ของใยแก้วนำแสง


1. การลดทอนสัญญาณในเคเบิ้ลใยแก้ว มีค่าต่ำกว่าในสายเคเบิ้ลธรรมดา ทำให้การติดตั้งระบบเคเบิ้ลใยแก้ว เพื่อการสื่อสารเสียเงินลงทุนต่ำกว่า เพราะในเคเบิ้ล ธรรมดา ต้องมีสถานีทวนสัญญาณทุก ๆ 3-5 กิโลเมตร ส่วนใน กรณีของเคเบิ้ลใย แก้วมีระยะห่างได้ถึง 50 กิโลเมตรทีเดียว
2. ช่องกว้างของแถบการส่งสัญญาณ แบนด์ววิดท์ของเคเบิ้ลใยแก้วมีสูงกว่า ทำให้สามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้มากกว่า
3. ขนาดของเคเบิ้ลใยแก้วเล็กกว่าเคเบิ้ลธรรมดา ถ้านำไปใช้ในงานบางอย่าง เช่น การวางเคเบิ้ลใต้น้ำ ซึ่งเดิม ต้องใช้ เคเบิ้ลขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้วครึ่ง ที่ประกอบด้วยสาย ส่งสัญญาณจำนวน 320 เส้น แต่หากใช้เคเบิ้ลใยแก้วแล้ว ก็จะมีเส้น ผ่านศูนย์กลางเพียงประมาณ 125 ไมครอน และใช้สายสัญญาณเพียง 5 เส้นเท่า นั้น และที่สำคัญ คือ มีน้ำหนักเบา สามารถติดตั้งบำรุงรักษา และ ซ่อมแซม ได้ง่ายอีกด้วย
4. เคเบิ้ลใยแก้วช่วยตัดปัญหา เรื่องสัญญาณรบกวน อันเนื่องมาจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ได้โดยเด็ดขาดเพราะมีการ ใช้ สัญญาณแสงเป็นตัวนำข้อมูล ไม่มีสัญญาณไฟฟ้า เข้ามาเกี่ยวข้องทำ ให้การรับ- ส่งข้อมูล มีความคลาดเคลื่อนน้อยกว่า

ข้อดีของการสื่อสารทางแสง

สำหรับข้อดีของการสื่อสารทางแสงมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. มีแบนด์วิดท์กว้าง และมีอัตราของการสูญเสียของแสงต่ำ ทำให้ประหยัดช่องสัญญาณ นอกจากนี้ยังทำให้ประหยัดอุปกรณ์ในการทวนสัญญาณ

2. มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานและติดตั้งได้ง่าย
3. ปราศจากสัญญาณรบกวนทางคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เนื่องจากเป็นแสงจึงไม่มีผลของการรบกวนเนื่องจากผลของการเหนี่ยวนำไฟฟ้าเกิดขึ้น
4. สามารถแยกสัญญาณทางไฟฟ้าได้ด้วยแสง โดยปกติการส่งสัญญาณทางไฟฟ้าจะต้องมีสายดินรวมกัน แต่ในระบบการสื่อสารทางแสงนี้ไม่ต้องต่อสายดิน เนื่องจากอาศัยหลักการเปลี่ยนสัญญาณ ทางไฟฟ้าเป็นสัญญาณแสง
5. มีความปลอดภัยของสัญญาณ ข่าวสารที่ส่งไปกับแสงจะมีตำแหน่งรับส่งที่แน่นอน ดังนั้นจึงไม่สามารถที่จะลักลอบใช้สัญญาณทางแสงเพื่อไปประมวลผลได้
6. องค์ประกอบที่ใช้ในการส่งสัญญาณทางแสงจะมีขนาดเล็กและราคาถูก เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนช่องสัญญาณที่ใช้ในการสื่อสาร

การป้อนแสงเข้าไปในเส้นใยแสง

เนื่องจากว่าแสงที่ปล่อยออกมาจากแหล่งกำเนิดแสงนั้น จะกระจายกว้างออกเนื่องจากปรากฏการณ์การเบี่ยงเบนของแสง ตามที่กล่าวมาแล้ว ในการที่จะป้อนแสงเข้าไปใน CORE ที่มีขนาดเล็กมากนั้นต้องใช้เลนซ์ทำการรวมแสง แต่ทว่าแสงที่รวมนั้น ไม่ใช่ว่าจะถูกป้อนเข้าไปในเส้นใยแสงได้ทั้งหมด แสงที่มีมุมตกกระทบที่เหมาะสมเท่านั้น จึงจะสามารถเข้าไปในเส้นใยแสงได้ จากรูปแสดงมุมรับแสงของเส้นใยแสงจากรูปจะเห็นว่าที่จุดป้อนแสงของเส้นใยแสงนั้นจะเป็นจุดต่อของตัวกลางที่มีค่าดัชนีการหักเหของแสงต่างกัน 3 ชนิด

MODE การเดินทางของแสงภายในเส้นใยแสง (Propagation Mode)

แสงที่ป้อนเข้าไปในเส้นใยแสงด้วยค่าของมุมรับแสงที่อยู่ในช่วงของมุมรับแสงสูงสุดนั้นแสงจะเดินทางในเส้นใยแสงด้วย ลักษณะที่เกิดการสะท้อนกลับไปมาตรงรอยต่อของ CORE กับ CLAD โดยที่แสงสะท้อนกลับไปมาจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าพร้อมกันด้วยแต่ทว่าจาก INTERFERENCE ของแสงภายใน CORE นั้นมุมสะท้อนกลับที่รอยต่อจะเกิดขึ้นได้ จำเป็นต้องมีเงื่อนไขที่เหมาะสม เกี่ยวกับเงื่อนไขที่เหมาะสมนี้จะได้กล่าวในหัวข้อต่อไปนี้ จะใช้เส้นใยแสงที่มีรูปร่างเป็นแผ่นแบนดังจะแสดงในรูป (b) แทนลักษณะเส้นใยแสงที่มีรูปร่างกลมดังรูป (a) และอีกอย่างหนึ่งเพื่อทำให้การอธิบายเกี่ยวกับ สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กของแสงง่ายขึ้นจะพิจารณาเฉพาะสนามไฟฟ้าเท่านั้น



วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2551

งานวันที่ 4 ส.ค51

1. Router มีกี่โหมด อะไรบ้าง อธิบายให้ละ
ตอบ 1. Router มีกี่โหมด อะไรบ้างRouting มีอยู่ 2 แบบ หลักๆ ได้แก่- แบบสเตติก (Static Route)- แบบไดนามิก (Dynamic Route)Static คือการเลือกเส้นทางแบบ Static นี้ การกำหนดเส้นทางการคำนวณเส้นทางทั้งหมด กระทำโดยผู้บริหาจัดการเครือข่าย ค่าที่ถูกป้อนเข้าไปในตารางเลือกเส้นทางนี้มีค่าที่ตายตัว ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใดๆ บนเครือข่าย จะต้องให้ผู้บริหารจัดการดูแล เครือข่า เข้ามาจัดการทั้งสิ้น อย่างไรก็ดีการใช้ วิธีการทาง Static เช่นนี้ มีประโยชน์เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมดังนี้-เหมาะสำหรับเครือข่ายที่มีขนาดเล็ก-เพื่อผลแห่งการรักษาความปลอดภัยข้อมูล เนื่องจากสามารถแน่ใจว่า ข้อมูลข่าวสารจะต้องวิ่งไปบนเส้นทางที่กำหนดไว้ให้ ตายตัว-ไม่ต้องใช้ Software เลือกเส้นทางใดๆทั้งสิ้น-ช่วยประหยัดการใช้ แบนวิดท์ของเครือข่ายลงได้มาก เนื่องจากไม่มีปัญหาการ Broadcast หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง Router ที่มาจากการใช้โปรโตคอลเลือกเส้นทางการจัดตั้ง Configuration สำหรับการเลือกเส้นทางแบบ Staticเป็นที่ทราบดีแล้วว่า การเลือกเส้นทางแบบ Static เป็นลักษณะการเลือกเส้นทางที่ถูกกำหนดโดยผู้จัดการเครือข่าย เพื่อกำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่ตายตัว หรือเจาะจงเส้นทางปกติ Router สามารถ Forward Packet ไปข้างหน้า บนเส้นทางที่มันรู้จักเท่านั้น ดังนั้นการกำหนดเส้นทางเดินของแพ็กเก็ตให้กับ Router จึงควรให้ความระมัดระวังวิธีการจัด Configure แบบ Static Route ให้กับ Router Cisco ให้ใส่คำสั่ง ip route ลงไปที่ Global Configuration Mode มีตัวอย่างการใช้คำสั่ง ดังนี้ip route network [ mask ] {address interface} [distance] [permanent]-Network เครือข่าย หรือ Subnet ปลายทาง-Mask หมายถึงค่า Subnet mask-Address IP Address ของ Router ใน Hop ต่อไป-Interface ชื่อของ Interface ที่ใช้เพื่อเข้าถึงที่หมายปลายทาง-Distance หมายถึง Administrative Distance-Permanent เป็น Option ถูกใช้เพื่อกำหนด เส้นทางที่ตั้งใจว่าจะไม่มีวันถอดถอนทิ้ง ถึงแม้ว่า จะปิดการใช้งาน Interface ก็ตามdynamic คือExterior Gateway Routing ProtocolDistance Vector Routing ProtocolLink State Routing Protocolเนื่องจาก จุดประสงค์ของการเขียนบทความนี้ ก็เพื่อให้ท่านผู้อ่านมีแนวคิดในการจัดตั้งเครือข่ายและอุปกรณ์ Router เพื่อเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย และเนื่องจากขอบข่ายของหลักวิชาการด้านนี้ ค่อนข้างกว้าง จึงขอตีกรอบให้แคบลง โดยจะขอกล่าวถึงรายละเอียดเพียงบางส่วนในการจัดตั้ง Router ที่ท่านสามารถนำไปใช้ได้ รู้จักกับ Distance Vector Routing Protocol Distance Vector เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางที่ Router ใช้เพื่อการสร้างตาราง Routing และจัดการนำแพ็กเก็ต ส่งออก ไปยังเส้นทางที่กำหนด โดย อาศัยข้อมูลเกี่ยวกับระยะทาง เช่น Hop เป็นตัวกำหนดว่า เส้นทางใดเป็นเส้นทางที่ดีที่สุด ที่จะนำแพ็กเก็ตส่งออกไปที่ปลายทาง โดยถือว่า ระยะทางที่ใกล้ที่สุด เป็นเส้นทางที่ดีที่สุด และแอดเดรส ของเครือข่ายปลายทางเป็น VectorDistance Vector บางครั้งจะถูกเรียกว่า "Bellman-Ford Algorithm" ซึ่งโปรโตคอลนี้ จะทำให้ Router แต่ละตัว ที่อยู่บนเครือข่ายจะต้องเรียนรู้ลักษณะของ Network Topology โดยการแลกเปลี่ยน Routing Information ของตัวมันเอง กับ Router ที่เชื่อมต่อกันเป็นเพื่อนบ้าน โดยตัว Router เองจะต้องทำการจัดสร้างตารางการเลือกเส้นทางขึ้นมา โดยเอาข้อมูล ข่าวสารที่ได้รับจากเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรง ( ข้อมูลนี้ครอบคลุมไปถึงระยะทางระหว่าง Router ที่เชื่อมต่อกัน)หลักการทำงานได้แก่การที่ Router จะส่งชุด สำเนาที่เป็น Routing Information ชนิดเต็มขั้นของมันไปยัง Router ตัวอื่นๆ ที่เชื่อมต่ออยู่กับมันโดยตรง ด้วยการแลกเปลี่ยน Routing Information กับ Router ตัวอื่นๆ ที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรงนี้เอง ทำให้ Router แต่ละตัว จะรู้จักซึ่งกันและกัน หรือรู้เขารู้เรา กระบวนการแลกเปลี่ยนนี้ จะดำเนินต่อไปเป็นห้วงๆ ของเวลาที่แน่นอนDistance Vector Algorithm ค่อนข้างเป็นแบบที่เรียบง่าย อีกทั้งออกแบบเครือข่ายได้ง่ายเช่นกัน ปัญหาหลักของของ Distance Vector Algorithm ได้แก่ การคำนวณเส้นทาง จะซับซ้อนขึ้น เมื่อขนาดของเครือข่ายโตขึ้นตัวอย่างของโปรโตคอลที่ทำงานภายใต้ Distance Vector Algorithm ได้แก่ อาร์ไอพี (RIP) หรือ Routing Information ProtocolLink State RoutingLink State Routing ถูกเรียกว่า "Shortest Path First (SPF)" Algorithm ด้วย Link State Routing นี้ Router แต่ละตัวจะทำการ Broadcast ข้อมูลข่าวสารออกมายัง Router ที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรงแบบเป็นระยะๆ ข้อมูลข่าวสารนี้ยังครอบคลุมไป ถึงสถานะของการเชื่อมต่อระหว่างกันด้วยวิธีการของ Link State นี้ Router แต่ละตัวจะทำการสร้างผังที่สมบูรณ์ของเครือข่ายขึ้น จากข้อมูลที่มันได้รับจาก Router อื่นๆทั้งหมด จากนั้นจะนำมาทำการคำนวณเส้นทางจากผังนี้โดยใช้ Algorithm ที่เรียกว่า Dijkstra Shortest Path AlgorithmRouter จะเฝ้าตรวจสอบดูสถานะของการเชื่อมต่ออย่างต่อเนื่อง โดยการแลกเปลี่ยนระหว่างแพ็กเก็ตกับ Router เพื่อนบ้าน แต่หาก Router ไม่ตอบสนองต่อความพยายามที่จะติดต่อด้วย หลายๆครั้ง การเชื่อมต่อก็จะถือว่าตัดขาดลง แต่ถ้าหากสถานะ ของ Router หรือการเชื่อมต่อเกิดการเปลี่ยนแปลง ข้อมูลข่าวสารนี้จะถูก Broadcast ไปยัง Router ทั้งหมดที่อยู่ในเครือข่ายการจัดตั้ง Configure ให้กับวิธี การจัดเลือกเส้นทางแบบ Dynamicในการจัดตั้งค่าสำหรับการเลือกเส้นทาง (Routing) แบบ Dynamic จะมี 2 คำสั่งสำหรับการใช้งาน ได้แก่ คำสั่ง Router และ Network โดยคำสั่ง Router เป็นคำสั่งที่ทำให้เริ่มต้นการเกิดกระบวนการเลือกเส้นทางขึ้น รูปแบบของคำสั่งมีดังนี้Router (config)#router protocol [keyword]ต่อไปนี้เป็นคำอธิบายรายละเอียดของรูปแบบคำสั่งProtocol เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบใดแบบหนึ่ง ระหว่าง RIP IGRP OSPF หรือ Enhanced IGRPKeyword ตัวอย่าง เช่น เลขหมายของ Autonomous ซึ่งจะถูกนำมาใช้กับโปรโตคอลที่ต้องการระบบ Autonomous ได้แก่ โปรโตคอล IGRPคำสั่ง Network ก็เป็นคำสั่งที่มีความจำเป็นต่อการใช้งานเช่นกัน เนื่องจากมันสามารถกำหนดว่า Interface ใดที่จะเกี่ยวข้องกับการรับหรือส่ง Packet เพื่อการ Update ตารางเลือกเส้นทาง ขณะเกิดกระบวนการเลือกเส้นทางขึ้นคำสั่ง Network จะเป็นคำสั่งที่ทำให้ โปรโตคอลเลือกเส้นทางเริ่มต้นทำงานบน Interface ต่างๆ ของ Router อีกทั้งยังทำให้ Router สามารถโฆษณาประชาสัมพันธ์เครือข่ายที่ตนดูแลอยู่ ได้อีกด้วย รูปแบบของคำสั่งมีดังนี้Router (config-router)#network network- numberNetwork-number ในที่นี้หมายถึง เครือข่ายที่เชื่อมต่อกันโดยตรง และ Network Number จะต้องอยู่ในมาตรฐาน เลขหมาย ของ INTERNIC
8.protocol ที่เลือกเส้นทางแบบ dynamic มีอะไรบ้างตอบ โปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบ Dynamic มีอยู่ หลายรูปแบบ ดังนี้
1. Interior Gateway Routing Protocol
2.Exterior Gateway Routing Protocol
3. Distance Vector Routing Protocol
4. Link State Routing ProtocolInterior เป็น Protocol ที่ใช้แลกเปลี่ยนฐานความรู้ระหว่าง Roter ภายในองค์กรเดียวกัน ซึ่งได้แก่ RIP , IGRP ,EIGRP และ OSPF Exterior เป็น Protocol ที่ใช้แลกเปลี่ยนฐานความรู้ต่างองค์กรกันหรือความน่าเชื่อถือต่างกัน ซึ่งได้แก่ BGP, EGP Distance Vector เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางที่ Router ใช้เพื่อการสร้างตาราง Routing และจัดการนำแพ็กเก็ตส่งออกไปยังเส้นทางที่กำหนด โดย อาศัยข้อมูลเกี่ยวกับระยะทาง เช่น Hop เป็นตัวกำหนดว่า เส้นทางใดเป็นเส้นทางที่ดีที่สุด ที่จะนำแพ็กเก็ตส่งออกไปที่ปลายทาง โดยถือว่า ระยะทางที่ใกล้ที่สุด เป็นเส้นทางที่ดีที่สุด และแอดเดรส ของเครือข่ายปลายทางเป็น VectorLink State Routing ถูกเรียกว่า "Shortest Path First (SPF)" Algorithm ด้วย Link State Routing นี้ Router แต่ละตัวจะทำการ Broadcast ข้อมูลข่าวสารออกมายัง Router ที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรงแบบเป็นระยะๆ ข้อมูลข่าวสารนี้ยังครอบคลุมไปถึงสถานะของการเชื่อมต่อระหว่างกันRouting Protocols (เส้นทางการเชื่อมต่อ)Exterior routing Protocol (EGP) เป็นโปรโตคอล สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของ router ระหว่าง 2 เครือข่ายของ gateway host ในระบบเครือข่ายแบบอัตโนมัติ ซึ่ง EGP มีการใช้โดยทั่วไป ระหว่าง host บนอินเตอร์เน็ต เพื่อแลกเปลี่ยนสารสนเทศของตาราง routing โดยตาราง routing ประกอบด้วยรายการ router ตำแหน่งที่ตั้ง และเมทริกของค่าใช้จ่ายของแต่ละ router เพื่อทำให้สามารถเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด กลุ่มของ router แต่ละกลุ่มจะใช้เวลาภายใน 120 วินาที ถึง 480 วินาที ในการส่งข้อมูลส่งตาราง routing ทั้งหมดไปยังเครือข่ายอื่น ซึ่ง EGP -2 เป็นเวอร์ชันล่าสุดของ EGP Border Gateway Protocol (BGP) เป็นโปรโตคอลสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของเส้นทางระหว่าง gateway host (ซึ่งแต่ละที่จะมี router ของตัวเอง) ในเครือข่ายแบบอัตโนมัติ BGP มักจะได้รับการใช้ระหว่าง gateway host บนระบบอินเตอร์เน็ต ตาราง routing ประกอบด้วยรายการของ router ตำแหน่งและตารางค่าใช้จ่าย (cost metric) ของเส้นทางไปยังrouterแต่ละตัวเพื่อการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด host ที่ใช้การติดต่อด้วยประเภทของ Routing ภายใน Network ที่เชื่อมต่อกับเนตเวิคโดยตรงRouting Information Protocol (RIP) เป็นโปรโตคอลที่ใช้อย่างกว้างขวาง สำหรับการจัดการสารสนเทศของ router ภายในเครือข่าย เช่น เครือข่าย LAN ของบริษัท หรือการติดต่อภายในกลุ่ม ของเครือข่าย RIP ได้รับการจัดชั้นโดย Internet Engineering Task Force (IETF) ให้เป็นหนึ่งในโปรโตคอลของInternet Gateway Protocol (หรือ InteriorGatewayProtocol)Open Shortest Path First (OSPF) ถือเป็น เร้าติ้งโปรโตคอล (Routing Protocol) ตัวหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในระบบเน็ตเวิร์ก เนื่องจากมีจุดเด่นในหลายด้าน เช่น การที่ตัวมันเป็น Routing Protocol แบบ Link State, การที่มีอัลกอรึทึมในการค้นหาเส้นทางด้วยตัวเอง ซึ่งเปรียบเสมือนว่า ตัวของ เราเตอร์ที่รัน OSPF ทุกตัวเป็นรูท (Root) หรือ จุดเริ่มต้นของระบบไปยังกิ่งย่อยๆ หรือโหนด (Node) ต่างๆ ซึ่งเป็นเทคนิคในการลดเส้นทางที่วนลูป (Routing Loop) ของการ Routing ได้เป็นอย่างดีEnhance Interior Gateway Routing Protocol (EIGRP) นั้นถือได้ว่าเป็น เราติ้งโปรโตคอลที่มีความรวดเร็วสูงสุดของซิสโก้ในการค้นหาเส้นทางภายใน Intra-AS (Interior Routing Protocol: เราติ้งโปรโตคอลภายใน Autonomous System) ซึ่ง ในเราติ้งโปรโตคอลแบบ EIGRP นี้ จะเป็นการนำเอาข้อดีของการเราติ้งแบบ Distance Vector และ Link State มาผสมผสานกัน (ในหนังสือบางเล่มจะเรียก เราติ้งโปรโตคอลแบบนี้ว่า “Hybrid” (ลูกผสม) หรือ Advanced Distance Vector)

**************************************************************************************

2.จงบอกคำสั่งในแต่ละโหมดมาอย่างน้อย 5 คำสั่ง
ตอบ คำสั่งaccess-enableเป็นการสร้าง Access List entry ชั่วคราวclearเป็นการ reset ค่า configure ต่างๆที่ท่านสร้างขึ้นชั่วคราวconnectใช้เพื่อ เปิด connection กับ terminaldisableปิดหรือยกเลิกคำสั่งที่อยู่ใน Privileged modedisconnectยกเลิกการเชื่อมต่อใดๆกับ networkenableเข้าสู่ privileged Exec modeexitออกจากการใช้ User Exec modehelpใช้เพื่อแสดงรายการ helplatเปิดการเชื่อมต่อกับ LAT (เครือข่าย VAX)lockใช้เพื่อ lock terminalloginloginเข้ามาเป็น userlogoutexit ออกจาก EXECmrinfoใช้เพื่อการร้องขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Version และสถานะของ Router เพื่อนบ้านจาก multicast router ตัวหนึ่งmstatแสดงสถิติหลังจากที่ได้ตามรอยเส้นทางแบบ Multicast ของ Router แล้วmtraceใช้ติดตามดู เส้นทาง Multicast แบบย้อนกลับจาก ปลายทางย้อนกลับมาที่ต้นทางname-connectionเป็นการให้ชื่อกับ การเชื่อมต่อของเครือข่ายที่กำลังดำเนินอยู่padเปิดการเชื่อมต่อ X.25 ด้วย X.29 PADPingใช้เพื่อทดสอบการเชื่อมต่อpppใช้เรียกการเชื่อมต่อแบบ PPPresumeใช้เพื่อการ กลับเข้าสู่การเชื่อมต่อของเครือข่ายอีกครั้งrloginเปิดการเชื่อมต่อ remote Login กับ Server ระยะไกลshowแสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทำงานของ
Router ในปัจจุบันslipเริ่มการใช้งาน Slip (serial line protocol)systatเป็นการแสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Terminal Line เช่นสถานะของระบบtelnetเป็นการเปิด การเชื่อมต่อทาง Telnetterminalเป็นการจัด Parameter ของ Terminal Linetracerouteเป็นการใช้ Traceroute เพื่อการติดตามไปดู ระบบที่อยู่ปลายทางtunnelเปิดการเชื่อมต่อแบบ Tunnelwhereแสดงรายการ ของ Link ที่กำลัง Active ในปัจจุบัน
*************************************************************************************
3. Command prompt ในโหมดต่างๆ
ตอบ Command Mode Command Mode หลักภายใน Cisco IOS ได้แก่User Exec ModePrivileged Exec ModeGlobal Configuration ModeInterface ConfigurationBoot Mode
*************************************************************************************

4. Use exec mode พร้อมรายละเอียด
ตอบ Command Mode หลักภายใน Cisco IOS ได้แก่User Exec ModePrivileged Exec ModeGlobal Configuration ModeInterface ConfigurationBoot ModeUser Exec ModeUser Exec Mode เป็นโหมดแรกที่ท่านจะต้อง Enter เข้าไป เมื่อRouter เริ่มทำงาน วิธีที่จะรู้ว่าท่านได้เข้าสู่ User Exec Mode จาก Prompt ของ Router ได้แก่ Prompt ที่แสดงบนหน้าจอ ได้แก่ ชื่อของ Router แล้วตามด้วยเครื่องหมาย > เช่นRouterhostname >
ต่อไปนี้ เป็นตารางแสดงรายการคำสั่ง ภายใต้ User Exec Commands
ตารางที่ 1แสดงรายการคำสั่ง ภายใต้ User Exec Commands
คำสั่งaccess-enableเป็นการสร้าง Access List entry ชั่วคราวclearเป็นการ reset ค่า configure ต่างๆที่ท่านสร้างขึ้นชั่วคราวconnectใช้เพื่อ เปิด connection กับ terminaldisableปิดหรือยกเลิกคำสั่งที่อยู่ใน Privileged modedisconnectยกเลิกการเชื่อมต่อใดๆกับ networkenableเข้าสู่ privileged Exec modeexitออกจากการใช้ User Exec modehelpใช้เพื่อแสดงรายการ helplatเปิดการเชื่อมต่อกับ LAT (เครือข่าย VAX)lockใช้เพื่อ lock terminalloginloginเข้ามาเป็น userlogoutexit ออกจาก EXECmrinfoใช้เพื่อการร้องขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Version และสถานะของ Router เพื่อนบ้านจาก multicast router ตัวหนึ่งmstatแสดงสถิติหลังจากที่ได้ตามรอยเส้นทางแบบ Multicast ของ Router แล้วmtraceใช้ติดตามดู เส้นทาง Multicast แบบย้อนกลับจาก ปลายทางย้อนกลับมาที่ต้นทางname-connectionเป็นการให้ชื่อกับ การเชื่อมต่อของเครือข่ายที่กำลังดำเนินอยู่padเปิดการเชื่อมต่อ X.25 ด้วย X.29 PADPingใช้เพื่อทดสอบการเชื่อมต่อpppใช้เรียกการเชื่อมต่อแบบ PPPresumeใช้เพื่อการ กลับเข้าสู่การเชื่อมต่อของเครือข่ายอีกครั้งrloginเปิดการเชื่อมต่อ remote Login กับ Server ระยะไกลshowแสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทำงานของ Router ในปัจจุบันslipเริ่มการใช้งาน Slip (serial line protocol)systatเป็นการแสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Terminal Line เช่นสถานะของระบบtelnetเป็นการเปิด การเชื่อมต่อทาง Telnetterminalเป็นการจัด Parameter ของ Terminal Linetracerouteเป็นการใช้ Traceroute เพื่อการติดตามไปดู ระบบที่อยู่ปลายทางtunnelเปิดการเชื่อมต่อแบบ Tunnelwhereแสดงรายการ ของ Link ที่กำลัง Active ในปัจจุบัน

*************************************************************************************
5.คำสั่งที่ใช้ตรวจสอบสถานะของRout จงบอกอย่างน้อย 5 คำสั่ง
ตอบ access-enableเป็นการสร้าง Access List entry ชั่วคราว
-clearเป็นการ reset ค่า configure ต่างๆที่ท่านสร้างขึ้นชั่วคราว
-connectใช้เพื่อ เปิด connection กับ terminal
-disableปิดหรือยกเลิกคำสั่งที่อยู่ใน Privileged mode
-disconnectยกเลิกการเชื่อมต่อใดๆกับ network
-enableเข้าสู่ privileged Exec modeexitออกจากการใช้ User
-Exec modehelpใช้เพื่อแสดงรายการ
-helplatเปิดการเชื่อมต่อกับ LAT (เครือข่าย VAX)lockใช้เพื่อ lock terminalloginloginเข้ามาเป็น userlogoutexit ออกจาก EXECmrinfoใช้เพื่อการร้องขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Version และสถานะของ Router เพื่อนบ้านจาก multicast router ตัวหนึ่งmstatแสดงสถิติหลังจากที่ได้ตามรอยเส้นทางแบบ Multicast ของ Router แล้วmtraceใช้ติดตามดู เส้นทาง Multicast แบบย้อนกลับจาก ปลายทางย้อนกลับมาที่ต้นทางname-connectionเป็นการให้ชื่อกับ การเชื่อมต่อของเครือข่ายที่กำลังดำเนินอยู่padเปิดการเชื่อมต่อ X.25 ด้วย X.29 PADPingใช้เพื่อทดสอบการเชื่อมต่อpppใช้เรียกการเชื่อมต่อแบบ PPPresumeใช้เพื่อการ กลับเข้าสู่การเชื่อมต่อของเครือข่ายอีกครั้งrloginเปิดการเชื่อมต่อ remote Login กับ Server ระยะไกลshowแสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทำงานของ Router ในปัจจุบันslipเริ่มการใช้งาน Slip (serial line protocol)systatเป็นการแสดงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Terminal Line เช่นสถานะของระบบtelnetเป็นการเปิด การเชื่อมต่อทาง Telnetterminalเป็นการจัด Parameter ของ Terminal Linetracerouteเป็นการใช้ Traceroute เพื่อการติดตามไปดู ระบบที่อยู่ปลายทางtunnelเปิดการเชื่อมต่อแบบ Tunnelwhereแสดงรายการ ของ Link ที่กำลัง Active ในปัจจุบัน
*************************************************************************************
6. การเลือกเส้นทางแบบ Static คืออะไร
ตอบ การเลือกเส้นทางแบบ Static นี้ การกำหนดเส้นทางการคำนวณเส้นทางทั้งหมด กระทำโดยผู้บริหาจัดการเครือข่าย ค่าที่ถูกป้อนเข้าไปในตารางเลือกเส้นทางนี้มีค่าที่ตายตัว ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใดๆ บนเครือข่าย จะต้องให้ผู้บริหารจัดการดูแล เครือข่า เข้ามาจัดการทั้งสิ้น อย่างไรก็ดีการใช้ วิธีการทาง Static เช่นนี้ มีประโยชน์เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมดังนี้-เหมาะสำหรับเครือข่ายที่มีขนาดเล็ก-เพื่อผลแห่งการรักษาความปลอดภัยข้อมูล เนื่องจากสามารถแน่ใจว่า ข้อมูลข่าวสารจะต้องวิ่งไปบนเส้นทางที่กำหนดไว้ให้ ตายตัว-ไม่ต้องใช้ Software เลือกเส้นทางใดๆทั้งสิ้น-ช่วยประหยัดการใช้ แบนวิดท์ของเครือข่ายลงได้มาก เนื่องจากไม่มีปัญหาการ Broadcast หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง Router ที่มาจากการใช้โปรโตคอลเลือกเส้นทางการจัดตั้ง Configuration สำหรับการเลือกเส้นทางแบบ Staticเป็นที่ทราบดีแล้วว่า การเลือกเส้นทางแบบ Static เป็นลักษณะการเลือกเส้นทางที่ถูกกำหนดโดยผู้จัดการเครือข่าย เพื่อกำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่ตายตัว หรือเจาะจงเส้นทางปกติ Router สามารถ Forward Packet ไปข้างหน้า บนเส้นทางที่มันรู้จักเท่านั้น ดังนั้นการกำหนดเส้นทางเดินของแพ็กเก็ตให้กับ Router จึงควรให้ความระมัดระวังวิธีการจัด Configure แบบ Static Route ให้กับ Router Cisco ให้ใส่คำสั่ง ip route ลงไปที่ Global Configuration Mode มีตัวอย่างการใช้คำสั่ง ดังนี้ip route network [ mask ] {address interface} [distance] [permanent]-Network เครือข่าย หรือ Subnet ปลายทาง-Mask หมายถึงค่า Subnet mask-Address IP Address ของ Router ใน Hop ต่อไป-Interface ชื่อของ Interface ที่ใช้เพื่อเข้าถึงที่หมายปลายทาง-Distance หมายถึง Administrative Distance-Permanent เป็น Option ถูกใช้เพื่อกำหนด เส้นทางที่ตั้งใจว่าจะไม่มีวันถอดถอนทิ้ง ถึงแม้ว่า จะปิดการใช้งาน Interface ก็ตาม

***************************************************************************************
7. การเลือกเส้นทางแบบ Dynamicคืออะไร
ตอบ dynamic คือตอบ : ประเภทของโปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบ Dynamicโปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบ Dynamic มีอยู่ หลายรูปแบบ ดังนี้Exterior Gateway Routing ProtocolDistance Vector Routing ProtocolLink State Routing Protocolเนื่องจาก จุดประสงค์ของการเขียนบทความนี้ ก็เพื่อให้ท่านผู้อ่านมีแนวคิดในการจัดตั้งเครือข่ายและอุปกรณ์ Router เพื่อเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย และเนื่องจากขอบข่ายของหลักวิชาการด้านนี้ ค่อนข้างกว้าง จึงขอตีกรอบให้แคบลง โดยจะขอกล่าวถึงรายละเอียดเพียงบางส่วนในการจัดตั้ง Router ที่ท่านสามารถนำไปใช้ได้ รู้จักกับ Distance Vector Routing Protocol Distance Vector เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางที่ Router ใช้เพื่อการสร้างตาราง Routing และจัดการนำแพ็กเก็ต ส่งออก ไปยังเส้นทางที่กำหนด โดย อาศัยข้อมูลเกี่ยวกับระยะทาง เช่น Hop เป็นตัวกำหนดว่า เส้นทางใดเป็นเส้นทางที่ดีที่สุด ที่จะนำแพ็กเก็ตส่งออกไปที่ปลายทาง โดยถือว่า ระยะทางที่ใกล้ที่สุด เป็นเส้นทางที่ดีที่สุด และแอดเดรส ของเครือข่ายปลายทางเป็น VectorDistance Vector บางครั้งจะถูกเรียกว่า "Bellman-Ford Algorithm" ซึ่งโปรโตคอลนี้ จะทำให้ Router แต่ละตัว ที่อยู่บนเครือข่ายจะต้องเรียนรู้ลักษณะของ Network Topology โดยการแลกเปลี่ยน Routing Information ของตัวมันเอง กับ Router ที่เชื่อมต่อกันเป็นเพื่อนบ้าน โดยตัว Router เองจะต้องทำการจัดสร้างตารางการเลือกเส้นทางขึ้นมา โดยเอาข้อมูล ข่าวสารที่ได้รับจากเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรง ( ข้อมูลนี้ครอบคลุมไปถึงระยะทางระหว่าง Router ที่เชื่อมต่อกัน)หลักการทำงานได้แก่การที่ Router จะส่งชุด สำเนาที่เป็น Routing Information ชนิดเต็มขั้นของมันไปยัง Router ตัวอื่นๆ ที่เชื่อมต่ออยู่กับมันโดยตรง ด้วยการแลกเปลี่ยน Routing Information กับ Router ตัวอื่นๆ ที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรงนี้เอง ทำให้ Router แต่ละตัว จะรู้จักซึ่งกันและกัน หรือรู้เขารู้เรา กระบวนการแลกเปลี่ยนนี้ จะดำเนินต่อไปเป็นห้วงๆ ของเวลาที่แน่นอนDistance Vector Algorithm ค่อนข้างเป็นแบบที่เรียบง่าย อีกทั้งออกแบบเครือข่ายได้ง่ายเช่นกัน ปัญหาหลักของของ Distance Vector Algorithm ได้แก่ การคำนวณเส้นทาง จะซับซ้อนขึ้น เมื่อขนาดของเครือข่ายโตขึ้นตัวอย่างของโปรโตคอลที่ทำงานภายใต้ Distance Vector Algorithm ได้แก่ อาร์ไอพี (RIP) หรือ Routing Information ProtocolLink State RoutingLink State Routing ถูกเรียกว่า "Shortest Path First (SPF)" Algorithm ด้วย Link State Routing นี้ Router แต่ละตัวจะทำการ Broadcast ข้อมูลข่าวสารออกมายัง Router ที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรงแบบเป็นระยะๆ ข้อมูลข่าวสารนี้ยังครอบคลุมไป ถึงสถานะของการเชื่อมต่อระหว่างกันด้วยวิธีการของ Link State นี้ Router แต่ละตัวจะทำการสร้างผังที่สมบูรณ์ของเครือข่ายขึ้น จากข้อมูลที่มันได้รับจาก Router อื่นๆทั้งหมด จากนั้นจะนำมาทำการคำนวณเส้นทางจากผังนี้โดยใช้ Algorithm ที่เรียกว่า Dijkstra Shortest Path AlgorithmRouter จะเฝ้าตรวจสอบดูสถานะของการเชื่อมต่ออย่างต่อเนื่อง โดยการแลกเปลี่ยนระหว่างแพ็กเก็ตกับ Router เพื่อนบ้าน แต่หาก Router ไม่ตอบสนองต่อความพยายามที่จะติดต่อด้วย หลายๆครั้ง การเชื่อมต่อก็จะถือว่าตัดขาดลง แต่ถ้าหากสถานะ ของ Router หรือการเชื่อมต่อเกิดการเปลี่ยนแปลง ข้อมูลข่าวสารนี้จะถูก Broadcast ไปยัง Router ทั้งหมดที่อยู่ในเครือข่ายการจัดตั้ง Configure ให้กับวิธี การจัดเลือกเส้นทางแบบ Dynamicในการจัดตั้งค่าสำหรับการเลือกเส้นทาง (Routing) แบบ Dynamic จะมี 2 คำสั่งสำหรับการใช้งาน ได้แก่ คำสั่ง Router และ Network โดยคำสั่ง Router เป็นคำสั่งที่ทำให้เริ่มต้นการเกิดกระบวนการเลือกเส้นทางขึ้น รูปแบบของคำสั่งมีดังนี้Router (config)#router protocol [keyword]ต่อไปนี้เป็นคำอธิบายรายละเอียดของรูปแบบคำสั่งProtocol เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบใดแบบหนึ่ง ระหว่าง RIP IGRP OSPF หรือ Enhanced IGRPKeyword ตัวอย่าง เช่น เลขหมายของ Autonomous ซึ่งจะถูกนำมาใช้กับโปรโตคอลที่ต้องการระบบ Autonomous ได้แก่ โปรโตคอล IGRPคำสั่ง Network ก็เป็นคำสั่งที่มีความจำเป็นต่อการใช้งานเช่นกัน เนื่องจากมันสามารถกำหนดว่า Interface ใดที่จะเกี่ยวข้องกับการรับหรือส่ง Packet เพื่อการ Update ตารางเลือกเส้นทาง ขณะเกิดกระบวนการเลือกเส้นทางขึ้นคำสั่ง Network จะเป็นคำสั่งที่ทำให้ โปรโตคอลเลือกเส้นทางเริ่มต้นทำงานบน Interface ต่างๆ ของ Router อีกทั้งยังทำให้ Router สามารถโฆษณาประชาสัมพันธ์เครือข่ายที่ตนดูแลอยู่ ได้อีกด้วย รูปแบบของคำสั่งมีดังนี้Router (config-router)#network network- numberNetwork-number ในที่นี้หมายถึง เครือข่ายที่เชื่อมต่อกันโดยตรง และ Network Number จะต้องอยู่ในมาตรฐาน เลขหมาย ของ INTERNIC

************************************************************************************

8. Protocal ที่เลือกเส้นทางแบบ dynamic มีอะไรบ้าง
ตอบ ปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบ Dynamic มีอยู่ หลายรูปแบบ ดังนี้1. Interior Gateway Routing Protocol2.Exterior Gateway Routing Protocol3. Distance Vector Routing Protocol4. Link State Routing ProtocolInterior เป็น Protocol ที่ใช้แลกเปลี่ยนฐานความรู้ระหว่าง Roter ภายในองค์กรเดียวกัน ซึ่งได้แก่ RIP , IGRP ,EIGRP และ OSPF Exterior เป็น Protocol ที่ใช้แลกเปลี่ยนฐานความรู้ต่างองค์กรกันหรือความน่าเชื่อถือต่างกัน ซึ่งได้แก่ BGP, EGP Distance Vector เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางที่ Router ใช้เพื่อการสร้างตาราง Routing และจัดการนำแพ็กเก็ตส่งออกไปยังเส้นทางที่กำหนด โดย อาศัยข้อมูลเกี่ยวกับระยะทาง เช่น Hop เป็นตัวกำหนดว่า เส้นทางใดเป็นเส้นทางที่ดีที่สุด ที่จะนำแพ็กเก็ตส่งออกไปที่ปลายทาง โดยถือว่า ระยะทางที่ใกล้ที่สุด เป็นเส้นทางที่ดีที่สุด และแอดเดรส ของเครือข่ายปลายทางเป็น VectorLink State Routing ถูกเรียกว่า "Shortest Path First (SPF)" Algorithm ด้วย Link State Routing นี้ Router แต่ละตัวจะทำการ Broadcast ข้อมูลข่าวสารออกมายัง Router ที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรงแบบเป็นระยะๆ ข้อมูลข่าวสารนี้ยังครอบคลุมไปถึงสถานะของการเชื่อมต่อระหว่างกันRouting Protocols (เส้นทางการเชื่อมต่อ)Exterior routing Protocol (EGP) เป็นโปรโตคอล สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของ router ระหว่าง 2 เครือข่ายของ gateway host ในระบบเครือข่ายแบบอัตโนมัติ ซึ่ง EGP มีการใช้โดยทั่วไป ระหว่าง host บนอินเตอร์เน็ต เพื่อแลกเปลี่ยนสารสนเทศของตาราง routing โดยตาราง routing ประกอบด้วยรายการ router ตำแหน่งที่ตั้ง และเมทริกของค่าใช้จ่ายของแต่ละ router เพื่อทำให้สามารถเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด กลุ่มของ router แต่ละกลุ่มจะใช้เวลาภายใน 120 วินาที ถึง 480 วินาที ในการส่งข้อมูลส่งตาราง routing ทั้งหมดไปยังเครือข่ายอื่น ซึ่ง EGP -2 เป็นเวอร์ชันล่าสุดของ EGP Border Gateway Protocol (BGP) เป็นโปรโตคอลสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของเส้นทางระหว่าง gateway host (ซึ่งแต่ละที่จะมี router ของตัวเอง) ในเครือข่ายแบบอัตโนมัติ BGP มักจะได้รับการใช้ระหว่าง gateway host บนระบบอินเตอร์เน็ต ตาราง routing ประกอบด้วยรายการของ router ตำแหน่งและตารางค่าใช้จ่าย (cost metric) ของเส้นทางไปยังrouterแต่ละตัวเพื่อการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด host ที่ใช้การติดต่อด้วยประเภทของ Routing ภายใน Network ที่เชื่อมต่อกับเนตเวิคโดยตรงRouting Information Protocol (RIP) เป็นโปรโตคอลที่ใช้อย่างกว้างขวาง สำหรับการจัดการสารสนเทศของ router ภายในเครือข่าย เช่น เครือข่าย LAN ของบริษัท หรือการติดต่อภายในกลุ่ม ของเครือข่าย RIP ได้รับการจัดชั้นโดย Internet Engineering Task Force (IETF) ให้เป็นหนึ่งในโปรโตคอลของInternet Gateway Protocol (หรือ InteriorGatewayProtocol)Open Shortest Path First (OSPF) ถือเป็น เร้าติ้งโปรโตคอล (Routing Protocol) ตัวหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในระบบเน็ตเวิร์ก เนื่องจากมีจุดเด่นในหลายด้าน เช่น การที่ตัวมันเป็น Routing Protocol แบบ Link State, การที่มีอัลกอรึทึมในการค้นหาเส้นทางด้วยตัวเอง ซึ่งเปรียบเสมือนว่า ตัวของ เราเตอร์ที่รัน OSPF ทุกตัวเป็นรูท (Root) หรือ จุดเริ่มต้นของระบบไปยังกิ่งย่อยๆ หรือโหนด (Node) ต่างๆ ซึ่งเป็นเทคนิคในการลดเส้นทางที่วนลูป (Routing Loop) ของการ Routing ได้เป็นอย่างดีEnhance Interior Gateway Routing Protocol (EIGRP) นั้นถือได้ว่าเป็น เราติ้งโปรโตคอลที่มีความรวดเร็วสูงสุดของซิสโก้ในการค้นหาเส้นทางภายใน Intra-AS (Interior Routing Protocol: เราติ้งโปรโตคอลภายใน Autonomous System) ซึ่ง ในเราติ้งโปรโตคอลแบบ EIGRP นี้ จะเป็นการนำเอาข้อดีของการเราติ้งแบบ Distance Vector และ Link State มาผสมผสานกัน (ในหนังสือบางเล่มจะเรียก เราติ้งโปรโตคอลแบบนี้ว่า “Hybrid” (ลูกผสม) หรือ Advanced Distance Vector)

*************************************************************************************

9. อธิบาย Protocal Distance Vector ให้เข้าใจ
ตอบ ลักษณะที่สำคัญของการติดต่อแบบ Distance-vector คือ ในแต่ละ Router จะมีข้อมูล routing table เอาไว้พิจารณาเส้นทางการส่งข้อมูล โดยพิจารณาจากระยะทางที่ข้อมูลจะไปถึงปลายทางเป็นหลัก จากรูป Router A จะทราบว่าถ้าต้องการส่งข้อมูลข้ามเครือข่ายไปยังเครื่องที่อยู่ใน Network B แล้วนั้น ข้อมูลจะข้าม Router ไป 1 ครั้ง หรือเรียกว่า 1 hop ในขณะที่ส่งข้อมูลไปยังเครื่องใน Network C ข้อมูลจะต้องข้ามเครือข่ายผ่าน Router A ไปยัง Router B เสียก่อน ทำให้การเดินทางของข้อมูลผ่านเป็น 2 hop อย่างไรก็ตามที่ Router B จะมองเห็น Network B และ Network C อยู่ห่างออกไปโดยการส่งข้อมูล 1 hop และ Network A เป็น2 hop ดังนั้น Router A และ Router B จะมองเห็นภาพของเครือข่ายที่เชื่อมต่ออยู่แตกต่างกันเป็นตารางข้อมูล routing table ของตนเอง จากรูปการส่งข้อมูลตามลักษณะของ Distance-vector routing protocol จะเลือกหาเส้นทางที่ดีที่สุดและมีการคำนวณตาม routing algorithm เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมา ซึ่งมักจะเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดและมีจำนวน hop น้อยกว่า โดยอุปกรณ์ Router ที่เชื่อมต่อกันมักจะมีการปรับปรุงข้อมูลใน routing table อยู่เป็นระยะๆ ด้วยการ Broadcast ข้อมูลทั้งหมดใน routing table ไปในเครือข่ายตามระยะเวลาที่ตั้งเอาไว้การใช้งานแบบ Distance-vector เหมาะกับเครือข่ายที่มีขนาดไม่ใหญ่มากและมีการเชื่อมต่อที่ไม่ซับซ้อนเกินไป ตัวอย่างโปรโตคอลที่ทำงานเป็นแบบ Distance-vector ได้แก่ โปรโตคอล RIP (Routing Information Protocol) และโปรโตคอล IGRP (Interior Gateway Routing Protocol) เป็นต้น

************************************************************************************
10. Protocol BGP คืออะไรมีหลักการทำงานอย่างไร
ตอบ Border Gateway Protocol (BGP) เป็นโปรโตคอลสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของเส้นทางระหว่าง gateway host (ซึ่งแต่ละที่จะมี router ของตัวเอง) ในเครือข่ายแบบอัตโนมัติ BGP มักจะได้รับการใช้ระหว่าง gateway host บนระบบอินเตอร์เน็ต ตาราง routing ประกอบด้วยรายการของ router ตำแหน่งและตารางค่าใช้จ่าย (cost metric) ของเส้นทางไปยัง router แต่ละตัว เพื่อการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด host ที่ใช้การติดต่อด้วย BGP จะใช้ Transmission Control Protocol (TCP) และส่งข้อมูลที่ปรับปรุงแล้วของตาราง router เฉพาะ host ที่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลง จึงมีผลเฉพาะส่วนของตาราง router ที่ส่ง BGP-4 เป็นเวอร์ชันล่าสุด ซึ่งให้ผู้บริหารระบบทำการคอนฟิก cost metric ตามนโยบาย การติดต่อด้วย BGP ของระบบ แบบอัตโนมัติที่ใช้ Internet BGP (IBGP) จะทำงานได้ไม่ดีกับ IGP เนื่องจาก router ภายในระบบอัตโนมัติต้องใช้ตาราง routing 2 ตาราง คือ ตารางของ IGP (Internet gateway protocol) และตารางของ IBGP BGP เป็นโปรโตคอลที่ทันสมัยกว่า Exterior Gateway Protocol

*************************************************************************************
11. สายใยแก้วนำแสงมีกี่ชนิด
ตอบ 2 ชนิด
12. สัญญาณแก้วใยแก้วนำแสงต่างๆ
ตอบ อนาล็อกกับดิจิตอล
13. จงบอกข้อดีของเส้นใยแก้วนำแสง
ตอบ 1. มีน้ำหนักเบาและไม่เป็นสนิม ซึ่งเหมาะมากสำหรับใช้งานในยานอวกาศ และรถยนต์
2. เส้นใยแสง 1 เส้น สามารถที่จะมีช่องสัญญาณเสียงได้มากเท่ากับ 1500 คู่สาย
3. ความห่างของตัวขยายสัญญาณสำหรับเส้นใยแสงมีค่าตั้งแต่ 35 ถึง 80 กิโลเมตร ซึ่งตรงข้ามกับสายธรรมดา ซึ่งมีค่าตั้งแต่ 1 ถึงแค่ 1.5 กิโลเมตรเท่านั้น4. เส้นใยแสงจะไม่มีการรบกวนจากฟ้าแลบ และการแผ่รังสีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า


14. ขนาดของ core และ cladding ในเส้นใยแก้วนำแสงแต่ละชนิด
ตอบ แท่งควอร์ต ซึ่งผ่านกระบวนการ Modefied Chemical Vapor Deposition (MCVD) แล้วจะถูกวางในแนวตั้งในหอดึง (Drawing Tower) ซึ่งจะถูกให้ความร้อนต่ออีก (2200 F) และถูกดึงลงด้านล่าง โดยหลักการของการหลอมเหลวควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ และขบวนการการดึง เพื่อจะทำให้เส้นใยแสงคุณภาพสูง มีความยาวประมาณ 6.25 กิโลเมตร และเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 125 ไมโครเมตร ศูนย์กลางซึ่งถูกเรียกว่า แกน หรือ CORE (เส้นผ่าศูนย์กลาง 8 ไมโครเมตร) จะถูกล้อมรอบด้วยควอร์ตที่บริสุทธิ์น้อยกว่า ซึ่งถูกเรียกว่า ชั้นคลุม หรือ cladding (ขอบเขตประมาณ 117 ไมโครเมตร

15. การเชื่อมต่อดดยวิธีการหลอมรวม ทำได้โดยวิธีใด
ตอบ การเชื่อมต่อแบบหลอมรวม เป็นการเชื่อมต่อ Fiber Optic สองเส้นเข้าด้วยกัน โดยการให้ความร้อนที่ปลายของเส้น Fiber Optic จากนั้นปลายเส้น Fiber Optic จะถูกดันออกมาเชื่อมต่อกัน การเชื่อมต่อกันในลักษณะนี้ เป็นการเชื่อมต่อโดยถาวร จนทำให้ดูเหมือนรวมเป็นเส้นเดียวกัน การสูญเสียจากการเชื่อมต่อในลักษณะนี้ จะทำให้มีความสูญเสีย ประมาณ 0.01 - 0.2 dB ในขั้นตอนการเชื่อมต่อนี้ ความร้อนที่ทำให้ปลายเส้น Fiber Optic อ่อนตัวลงด้วยประกายไฟที่เกิดจากการ Arc ระหว่างขั้ว Electrode ขณะทำการ หลอมรวม ซึ่งจะยังผลให้การเชื่อมต่อของ Fiber Optic เป็นเนื้อเดียวกัน